ศูนย์รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่

25 กุมภาพันธ์ 2562

คณะทันตแพทยศาสตร์

     ศูนย์รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่อย่างต่อเนื่อง นานกว่า 30 ปี โดยในปี พ.ศ. 2548 เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่ง ของโครงการยิ้มสวย เสียงใส เพื่อเทิดพระเกียรติ 50 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และได้ รับการจัดตั้งเป็นศูนย์รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ทาง ทันตกรรม อย่างเป็นทางการเมื่อวันจันทร์ที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 ในฐานะสถาบันที่ให้การรักษาทางทันตกรรม ระดับตติยภูมิขั้นสูงร่วมกับทีมแพทย์ พยาบาลและบุคลากร จากคณะแพทยศาสตร์และเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ รวมถึงศูนย์อนามัยที่ 10 เชียงใหม่

   ศูนย์รักษาผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ฯ ให้การ รักษาผู้ป่วยตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 20 ปีเป็นอย่างน้อย ในปี พ.ศ. 2560 มีผู้ป่วยที่อยู่ในการดูแล จำนวนกว่า 400 ราย ทั้งผู้ที่มีภูมิลำเนาในเขตภาคเหนือและภาคอื่นๆ ของประเทศ รวมถึง ผู้ป่วยที่เดินทางมาจากประเทศใกล้เคียง โดยไม่จำกัดเชื้อชาติ เช่น จีน และพม่า เป็นต้น ด้วยการสนับสนุนจากสำนักงาน หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สภากาชาดไทย และ สำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย เน้นการรักษาแบบองค์รวม คือ ให้ผู้ป่วยและครอบครัวได้รับ การดูแลทั้งทางกายและใจ รวมถึงให้บุคลากรทำงานอย่าง มีความสุข

      ทารกจะได้รับการดูแลสุขภาพช่องปากตั้งแต่แรก เกิดต่อเนื่องจนการรักษาเสร็จสมบูรณ์ในวัยสมบูรณ์ โดยทีม ทันตแพทย์จะประสานกับทีมคลินิกนมแม่และทีมศัลยแพทย์ ตกแต่ง เพื่อทำเพดานเทียมและเครื่องมือปรับแต่งจมูกและ ขากรรไกรบน ลดความรุนแรงของความผิดปกติก่อนการผ่าตัด เย็บปิดรอยแยกจมูก ริมฝีปากและเพดาน และอุปกรณ์คงรูป จมูกหลังการผ่าตัด และประสานต่อเนื่องกับโสต ศอ นาสิก แพทย์ และนักวจีบำบัดเพื่อฝึกพูด รวมถึงนักกายภาพบำบัด เพื่อตรวจแก้ไขพัฒนาการตามวัย เป็นต้น

     กิจกรรมพิเศษประจำปีของศูนย์ฯ คือ “วันครอบครัว ยิ้มสวย เสียงใส” จุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างกำลังใจให้แก่ผู้ ป่วย รวมถึงพ่อแม่ในการเลี้ยงดูบุตรและเปิดโอกาสให้ได้มี ปฏิสัมพันธ์กับทีมบุคลากรที่ให้การรักษามากขึ้น มีการแลก เปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างครอบครัวในการเลี้ยงดูบุตรที่มี ความผิดปกติคล้ายๆ กัน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วย งานและองค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน สมาคม มูลนิธิ บริษัท ห้างร้าน รวมถึงประชาชนทั่วไป

     นอกจากงานวิจัยด้านต่างๆ เพื่อนำเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยมาพัฒนามาตรฐานการรักษา อาทิเช่น การทำแบบจำลองขากรรไกรบนด้วยกล้องถ่ายภาพสามมิติ เพื่อลดความเสี่ยงของทารกจากการพิมพ์ปาก การสร้างเครื่อง มือคงรูปจมูกเฉพาะคนด้วยซิลิโคนชนิดนิ่ม เป็นต้น ศูนย์ฯ ร่วม กับกระทรวงสาธารณสุขจัดฝึกอบรมทันตแพทย์ทั่วประเทศ เพื่อพัฒนาและจัดตั้งศูนย์ระดับปฐมภูมิในการร่วมดูแลผู้ ป่วยตามภูมิภาคต่างๆ และยังร่วมกับสำนักงานบรรเทาทุกข์ และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทยในการรณรงค์การใช้ โฟเลตเพื่อป้องกันภาวะปากแหว่งเพดานโหว่อีกด้วย

แกลลอรี่