มาตรการช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู้ภัยโควิด-19 ในภาคส่วนต่าง ๆ

10 เมษายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

มาตรการช่วยเหลือของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สู้ภัยโควิด-19 ในภาคส่วนต่าง ๆ

ด้านการช่วยเหลือสังคม

• ผลิตหน้ากากนาโน MASK 4 ALL หน้ากากแจกประชาชนเพื่อประชาชนป้องกัน COVID-19 และ PM2.5  มอบสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนที่ขาดแคลน
• มอบหน้ากากอนามัยแก่ นักศึกษา บุคลากรทุกส่วนงานของมหาวิทยาลัย เชียงใหม่และบุคลากรทางการแพทย์ (โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ โรงพยาบาลสันป่าตอง โรงพยาบาลสันทราย โรงพยาบาลนครพิงค์ โรงพยาบาลแม่วาง โรงพยาบาลดอยเต่า)
• จัดทำสื่อให้ความรู้เกี่ยวกับ COVID-19 โดยคณบดีสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิด้านโรคติดต่อของจังหวัดเชียงใหม่)และคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ออกให้ความรู้ตามสถานที่และเครือข่ายต่าง ๆ เช่น โรงเรียน ชุมชน เครือข่ายมหาวิทยาลัยในจังหวัดเชียงใหม่ (โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์)
• จัดตั้งศูนย์ Hotline พร้อมช่องทางออนไลน์ ถาม-ตอบ (โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะพยาบาลศาสตร์)
• จัดทำแอปพลิเคชันระบบคัดกรองความเสี่ยงผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 (โดยคณะแพทยศาสตร์ และคณะสาธารณสุขศาสตร์)
• แจกเจลแอลกอฮอล์และกล่องป้องกันการกระจายของเชื้อโรค แก่โรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่
• คณะแพทยศาสตร์ให้ความร่วมมือกับทางสาธารณสุขจังหวัดในการจัดทำแผนปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ด้านการแพทย์และสาธารณสุข ซึ่งมีแผนดำเนินการในภาพรวม
• ให้การสนับสนุนอุปกรณ์ภาคสนามกรณีตั้งสถานพยาบาลภาคสนาม เช่น เตียงนอน ที่นอน ผ้าห่ม ผ้าปูที่นอน หมอน และห้องน้ำสนาม
• จัดเตรียมอาคารผู้ป่วยในรองรับผู้ป่วย COVID-19 ที่มีอาการปานกลางและรุนแรง โดยโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ สังกัดคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ให้บริการผู้ป่วยโรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้น (URI) และผู้สงสัยติดเชื้อ COVID-19 รวมทั้งรับผู้ป่วย ไว้รักษาในโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
• สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบและผลิต BMEi CMU Face Shield หรือหน้ากากชนิดปกป้องทั้งใบหน้าเพื่อป้องกันละอองฝอยและสารคัดหลั่งขึ้น โดยได้สร้างในส่วนของ headband จากเครื่องพิมพ์ 3 มิติ (3D Printer) ส่งไปให้ทางโรงพยาบาล บุคลากรทางการแพทย์ที่จำเป็นต้องใช้
• จัดทำ Face Shield DIY โดยฝ่ายการพยาบาล โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ เพื่อบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
• คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พัฒนาสิ่งประดิษฐ์ และให้คำปรึกษาทางวิศวกรรมศาสตร์เพื่อสนับสนุนโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ ดังนี้
1.1. ตั้งกลุ่มวิศวกรอาสาพหุภาคี คณาจารย์ นักศึกษาเก่าที่เป็นวิศวกรวิชาชีพ ให้คำปรึกษา ร่วมออกแบบ และดำเนินการปรับปรุงห้องความดันลบสำหรับผู้ป่วยติดเชื้อและอาคาร รวมทั้งระบบปรับอากาศให้สามารถควบคุมเชื้อไม่ให้เข้าไปสู่ห้อง หรือระบายอากาศที่มีเชื้อออกไปบำบัด (Positive/Negative Pressure)
1.2. สร้างหุ่นยนต์ในหอผู้ป่วย COVID-19 ส่งอาหาร ยา หรือของให้ผู้ป่วยในห้องพักผู้ป่วย
1.3. Swab Guard แผ่นอะคริลิก สวมให้ผู้ป่วยป้องกันการไอจามขณะกวาดทางเดินหายใจเพื่อนำไปตรวจหาเชื้อ
1.4. อุปกรณ์เพิ่มเติมเพิ่มความปลอดภัยให้เปล/เตียงสนามปกติสามารถขนย้ายผู้ป่วยได้
1.5. ตู้อบหน้ากาก รวมทั้งชุดป้องกันอันตรายส่วนบุคคล (PPE)
• ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ออกแบบฉากตรวจคนไข้แบบ Protective Shield และแจกแบบฉากอะคริลิกกั้นตรวจคนไข้ ฟรี กั้นระหว่างผู้ป่วยและแพทย์ พยาบาลผู้ตรวจ ป้องกันละอองน้ำลาย เสมหะ ขณะไอจาม ให้กับโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่
• ดำเนินการใช้เครื่องอบโอโซนบริการฆ่าเชื้อตามสถานที่ต่าง ๆ โดยสถาบันวิจัยและพัฒนาพลังงานนครพิงค์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• จัดทำชุดอุปกรณ์ป้องกันตนเอง (PPE) จากพลาสติกกันน้ำ ราคาไม่เกิน 50 บาท โดย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• จัดทำโปรแกรม Chiang Mai COVID-19 Hospital Information ให้ทางเครือข่ายโรงพยาบาลในจังหวัดเชียงใหม่จำนวน 26 แห่ง ใช้ เพื่อประโยชน์ ในการติดตามสถานการณ์ ข้อมูลจำนวนผู้ต้องสงสัยและผู้ป่วย COVID-19
การใช้ทรัพยากร การแบ่งปันเตียง admit ระหว่างโรงพยาบาล การจัดการสั่งการ ส่งต่อ ระหว่างโรงพยาบาล
รวมไปถึงการอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับบ้าน และพัฒนาแอพพลิเคชั่น เพื่อติดตามสุขภาพของผู้ป่วยที่ได้รับอนุญาต
ให้กลับบ้าน (โดยคณะสาธารณสุขศาสตร์)
• สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้บริการห้องพัก (Green Nimman) ฟรี แก่บุคลากรทางการแพทย์

ด้านการช่วยเหลืออาจารย์และบุคลากร

• ผลิตเจลแอลกอฮอล์ และแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ ป้องกัน COVID-19 แจกจ่ายให้กับบุคลากรทุกส่วนงานในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ซื้อสิทธิ์ ZOOM PRO เพื่อให้อาจารย์ทุกคนใช้ในการสอน
• สนับสนุนให้มีการปฏิบัติงานจากที่บ้าน (Work from Home)พร้อมเปิดบริการช่องทางติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับไอที โดยระบบออนไลน์ ONE STOP Service
• จัดทำประกันสุขภาพบุคลากรป้องกัน COVID-19 (สำหรับส่วนงานที่มีความเสี่ยง)
• อบโอโซนฆ่าเชื้อในห้องประชุมและห้องทำงาน
• มีระบบ Online Food Selected Shop (CMU Carelicious) บริการส่งอาหารให้กับบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โดยคณะเกษตรศาสตร์ร่วมกับวิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี)

ด้านการช่วยเหลือนักศึกษา

• จัดตั้งกองทุนช่วยเหลือบรรเทาแก่นักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติและสาธารณภัย
เพื่อช่วยเหลือนักศึกษาที่ได้รับผลกระทบ COVID-19
• ขยายเวลาผ่อนชำระค่าธรรมเนียมการศึกษาและหอพัก
• มอบหน้ากากอนามัย
• แจก SIM ฟรี เพื่อการศึกษาออนไลน์
• จัดทำ“โครงการรับอาหารฟรี” สำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 300 กล่องต่อวัน โดยศูนย์ช่วยเหลือนักศึกษาสถานการณ์ฉุกเฉิน (สถานการณ์โรคระบาด COVID-19)
• เปิดบริการหอพักพร้อมดูแลนักศึกษาที่ไม่เดินทางกลับภูมิลำเนา
• จัดเตรียมหอพักแยกเฉพาะ สำหรับนักศึกษาที่อยู่หอพัก กรณีมีนักศึกษาอาจเป็นผู้สัมผัสผู้ป่วย COVID-19 และต้องให้กักตัวดูอาการ 14 วัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะมีหอพักแยกเฉพาะให้นักศึกษาพัก คนละ 1 ห้อง และดูแลเรื่องระบบการจัดการสุขาภิบาล การกำจัดเชื้อตามมาตรฐาน
• เปิดบริการออนไลน์ (Library CMUL ถามตอบผ่าน Video, Messenger, ตรวจสอบข้อมูลการยืมคืน บริการจองหนังสือออนไลน์)
• เปิดบริการช่องทางติดต่อสื่อสารเกี่ยวกับไอที และเรียนออนไลน์ 

การให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยกับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

• ลดค่าเช่าให้กับร้านค้าภายในมหาวิทยาลัย
แกลลอรี่