ติดตามคุณภาพอากาศภาคเหนือได้อย่างทันใจกับ www.ntaqhi.info

1 มีนาคม 2564

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ

หมอกควันในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยเป็นปัญหาสำคัญ และมีความรุนแรงของปัญหาโดยทั่วไปปรากฏชัดเจนในช่วงหน้าแล้ง ระหว่างเดือนธันวาคมถึงเมษายน มักพบการเพิ่มสูงขึ้นของปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก เนื่องจากความ แห้งแล้งส่งผลให้เกิดการเพิ่มขึ้นของไฟป่า ประกอบกับในช่วงเวลาดังกล่าว เกษตรกร จะทำการเผาเศษวัสดุเพื่อเตรียมพื้นที่สำหรับทำการเกษตรในช่วงฤดูฝน ซึ่งมีสภาวะอากาศที่แห้งและนิ่งทำให้ฝุ่นละอองที่เกิดขึ้นสามารถแขวนลอยอยู่ ในบรรยากาศได้นาน ประกอบกับฝนตกน้อยทำให้การชะล้างหมอกควันหรือฝุ่นที่แขวนลอยอยู่ในอากาศเป็น ไปได้น้อย และเมื่อเกิดปัญหาดังกล่าวก็เกิดการสะสมของมลพิษในร่างกายของมนุษย์ และส่งผลกระทบกับปัญหาสุขภาพในเวลาถัดมา
จากปัญหาดังกล่าว ศ. นพ. ขวัญชัย ศุภรัตน์ภิญโญ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ ร่วมกับกลุ่มแพทย์ พยาบาล นักวิชาการ และผู้สนใจ ศึกษาเรื่องคุณภาพอากาศ พูดคุยหาสาเหตุ แลกเปลี่ยนความรู้ผลกระทบต่อสุขภาพของฝุ่นละอองขนาดจิ๋ว (PM2.5) ที่มีความเข้มข้นในอากาศสูงในช่วงฤดูหมอกควันในจังหวัดเชียงใหม่ที่เกิดจากการเผาเกษตรในภาคเหนือตอนบน เมียนมาร์ ลาว และจีนตอนล่าง และทางกลุ่มได้นำค่าดัชนีคุณภาพอากาศของประเทศสหรัฐอเมริกา (The United States Environmental Protection Agency หรือ EPA) มาใช้เนื่องจากมีหลักฐานเชิงวิชาการกำกับชัดเจนและมีหลายประเทศนำไปใช้


และในเวลาต่อคณะทำงานสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพก็ได้จัดทำเวบไซต์ www.cmaqhi.org ขึ้น โดยนำข้อมูล PM2.5 ของ รศ. ดร. พิศิษฐ์ สิงห์ใจ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (www.aqith.com) ซึ่งดำเนินการติดตั้งจุดตรวจวัดแบบ realtime ขึ้นหลายจุดในจังหวัดเชียงใหม่ และในปีแรกได้รับข้อมูลคุณภาพอากาศจาก ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change Data Center: CCDC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (www.cmuccdc.org) เพื่อให้สามารถแสดงข้อมูลคุณภาพอากาศได้ครอบคลุมทุกอำเภอในจังหวัดเชียงใหม่อย่างทั่วถึง

ซึ่งในขณะนั้น มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สนับสนุนงบประมาณในโครงการ "คืนลมหายใจบริสุทธ์ให้ชาวเชียงใหม่" ในการติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศที่ใช้เซนเซอร์ขนาดเล็กให้ครบ 205 ตำบลทั่วจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างเครือข่ายระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพอย่างทั่วถึงทั้งในเขตเมืองและชนบทเป็นจังหวัดแรกในประเทศไทย โดยใช้ชื่อว่า CMAQHI ซึ่งย่อมาจาก ChiangMai Air Quality Health Index หรือ ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่

ศ. นพ. ขวัญชัย กล่าวต่อ เนื่องจากในปี 2564 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้สนับสนุนงบประมาณในการบำรุงรักษาเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศทั้ง 205 เครื่อง ทั้งนี้เพื่อให้เครื่องวัดมีมาตรฐานในการตรวจวัดใกล้เคียงกับของเดิม มีการปรับพื้นที่ติดตั้งเดิมในจังหวัดเชียงใหม่ให้เหมาะสมมากขึ้น รวมทั้งขยายการติดตั้งเครื่องวัดไปใน 40 พื้นที่ของจังหวัดลำพูน เชียงราย และแม่ฮ่องสอน เพื่อขยายเครือข่ายระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพไปยังจังหวัดอื่นในภาคเหนือของประเทศไทยเพิ่มเติมจากจังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเป็นจังหวัดนำร่องและทางคณะนักวิจัยได้ขยายเครือข่ายระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพไปยังจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ที่แสดงผลในพื้นที่ทั้งแบบเวลาจริงทุกชั่วโมง และแบบค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พร้อมคำอธิบายระดับดัชนีคุณภาพอากาศ และคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพ พร้อมปรับโฉมให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ใช้งานง่าย จึงทำให้ต้องเปลี่ยนชื่อ จากดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเชียงใหม่ CMAQHI (ChiangMai Air Quality Health Index) เป็น ดัชนีคุณภาพอากาศเพื่อสุขภาพชาวเหนือ NTAQHI (Northern Thailand Air Quality Health Index ทั้งนี้เพื่อตอบโจทย์การขยายเครือข่ายระบบเฝ้าระวังและแจ้งเตือนประชาชนจากผลกระทบของปัญหาหมอกควันต่อสุขภาพไปยังจังหวัดในพื้นที่ภาคเหนือ ที่แสดงผลในพื้นที่ทั้งแบบเวลาจริงทุกชั่วโมง และแบบค่าเฉลี่ยใน 24 ชั่วโมงที่ผ่านมา พร้อมคำอธิบายระดับดัชนีคุณภาพอากาศ และคำเตือนเพื่อลดความเสี่ยงจากผลกระทบของมลพิษอากาศต่อสุขภาพ พร้อมปรับโฉมให้ผู้ใช้งานเข้าถึงข้อมูลได้ง่าย ใช้งานง่าย ติดตามได้ที่เว็บไซต์ www.ntaqhi.info และในขณะนี้ท่านสามารถดูดัชนีคุณภาพอากาศ PM 2.5 ทาง Application CMAQHI ซึ่งในอนาคตจะได้ขยายพื้นที่ออกไปให้ครอบคลุมทุกจังหวัดภาคเหนือต่อไป
แกลลอรี่