ศูนย์บูรณะช่องปากและใบหน้า

15 กุมภาพันธ์ 2562

คณะทันตแพทยศาสตร์

     งานบูรณะช่องปากและใบหน้าเป็นงานของ ทันตแพทย์ที่ได้นำเอาองค์ความรู้และเทคโนโลยีทางการ แพทย์หลายสาขามาประยุกต์ใช้ในการรักษาผู้ป่วยที่มีความ วิการบริเวณช่องปากและใบหน้า เป็นการขยายขอบข่ายงาน จากการทำฟันเทียมมาทำสิ่งประดิษฐ์สำหรับบูรณะความ พิการของช่องปากและบริเวณข้างเคียงรวมทั้งทำอุปกรณ์ ต่างๆ เพื่อส่งเสริมความสำเร็จในการรักษาและช่วยให้ผู้ป่วย มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

     ประวัติการดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้เริ่มจาก รอง ศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ทะนง ฉัตรอุทัย ซึ่งเป็นการติดต่อ เป็นการส่วนตัวกับแพทย์ สำหรับการเริ่มงานอย่างจริงจังเกิด ขึ้นโดย อาจารย์ ทันตแพทย์สามารถ สุธาชัย ซึ่งได้รับการ สนับสนุนอย่างเต็มที่จาก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ สรพล สัลละพันธ์ ทั้งยังมีการส่งอาจารย์ของภาควิชาไป ศึกษาต่อและฝึกงานที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยอย่าง สม่ำเสมอ ในส่วนการจัดตั้งหน่วยงานอย่างเป็นทางการ ได้รับการสนับสนุนจากภาควิชาทันตกรรมประดิษฐ์ และโรงพยาบาลทันตกรรม โดยมี รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์หญิง ดร.พนารัตน์ ขอดแก้ว เป็นผู้รับผิดชอบหลัก และมีที่ปรึกษา คือ รองศาสตราจารย์ ทันตแพทย์ ดร.ปิยวัฒน์ พันธุ์โกศล ผู้ก่อตั้งหน่วยบูรณะช่องปากและใบหน้า คณะ ทันตแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเริ่มจากใน ปี พ.ศ. 2554 เป็นหน่วยบูรณะช่องปากและใบหน้า และในปี พ.ศ. 2558 เปลี่ยนเป็นศูนย์บูรณะช่องปากและใบหน้า

     การดำเนินงานของศูนย์บูรณะช่องปากและใบหน้า นอกจากจะมีเป้าหมายในการสร้างสิ่งประดิษฐ์และนวัตกรรม เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีและใช้ชีวิตในสังคมได้แล้ว ยังเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้สำหรับนักศึกษาบัณฑิตศึกษา สาขาทันตกรรมประดิษฐ์และทันตแพทย์ผู้สนใจซึ่งเป็นการ บริการวิชาการเพิ่มพูนศักยภาพให้โรงพยาบาลต่างๆ สามารถ ดูแลผู้ป่วยกลุ่มนี้ได้

     ผลงานเด่นของทางศูนย์ ได้แก่ การผลิตบัณฑิต สาขาทันตกรรมประดิษฐ์ที่มีความรู้และทักษะในการดูแล รักษาผู้ป่วยที่มีความวิการบริเวณศีรษะและใบหน้า ซึ่งตอบ สนองนโยบายด้านสาธารณสุขของประเทศไทย ให้การดูแล ผู้ป่วยเนื้องอกและมะเร็งบริเวณช่องปากและใบหน้าร่วมกับ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ โรงพยาบาล นครพิงค์ ให้การดูแลผู้ป่วยที่มีความวิการแต่กำเนิดร่วม กับศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ คณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และผลิตนาโซฟอร์ม ซึ่งเป็นอุปกรณ์ปรับรูปจมูก ผลงานนวัตกรรมรางวัลรองชนะ เลิศอันดับหนึ่งด้านสังคม จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ NIA (องค์การมหาชน) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประจำปี 2557 อุปกรณ์นี้ได้เข้าสู่กระบวนการจดสิทธิบัตรและ ถ่ายทอดเทคโนโลยีแล้ว ขณะนี้กำลังอยู่ในกระบวนการบ่ม เพาะวิสาหกิจ โดยการสนับสนุนของ หน่วยจัดการทรัพย์สิน ทางปัญญาและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แกลลอรี่