เจ็บคอไม่หาย....อาจไม่ใช่แค่หวัด

17 มกราคม 2566

คณะแพทยศาสตร์

ช่วงฤดูหนาว อากาศที่หนาวเย็น มักจะส่งผลต่ออาการระเคืองคอ เจ็บคอ บางรายมีอาการเป็นๆหายๆ ยาวนานจนเกิดความวิตกกังวล ดังนั้นหากมีอาการเจ็บคอในรอบปี อย่างน้อยมักจะมีอาการ 2-3 ครั้ง แต่หากเกิน 2-3 วัน หรือมีอาการร่วมหลายกรณีก็อาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอื่นตามมาได้เช่นกัน
สาเหตุของอาการเจ็บคอ
ประกอบไปด้วยหลายสาเหตุ ได้แก่ การติดเชื้อ การอักเสบ สิ่งแปลกปลอม เนื้องอก เป็นต้น
สาเหตุของการติดเชื้อ (เป็นสาเหตุของการติดเชื้อมากที่สุด)
-การติดเชื้อที่เป็นสาเหตุจากไวรัส พบได้บ่อยที่สุด อาการเป็นไข้หวัดธรรมดา มีอาการอักเสบ บวม แดง ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน นอกจากจะทำให้มีอาการเจ็บคอ ยังสามารถแสดงอาการอื่นๆร่วมด้วย เช่น ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ คัดจมูก ปวดเมื่อยเนื้อตัว ส่วนใหญ่จะมีอาการภายใน 1-2 วัน ผู้ป่วยกลุ่มนี้ไม่จำเป็นต้องได้รับ
การรักษาที่ต้องใช้ยาปฏิชีวนะ
-การติดเชื้อที่เป็นสาเหตุจากแบคทีเรีย
หากเกิดเป็นทอนซิลอักเสบ ผู้ป่วยจะมีหนอง บวม แดง บริเวณต่อมทอลซิล มีอาการไข้สูง เจ็บคอมาก ปวดเมื่อยเนื้อตัว สามารถเกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาได้โดยกลืนอาหารลำบากติดคอ มีไข้สูง หายใจลำบาก หายใจเหนื่อย กลุ่มผู้ป่วยเหล่านี้ต้องได้รับการรักษาค่อนข้างรวดเร็ว ต้องได้รับยาปฏิชีวนะทางหลอดเลือด อาจจะต้องเจาะดูด หรือกรีดระบายหนองออก
กล่องเสียงอักเสบ ผู้ป่วยมักจะมาด้วยอาการเจ็บคอมาก ไข้สูง กลืนน้ำลายไม่ลง เป็นต้น
นอกเหนือจากเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัสต่างๆก็อาจจะเกิดเชื้อราได้ จะมีอาการเจ็บปาก เจ็บลิ้น เจ็บโคนลิ้น ส่วนใหญ่ผู้ป่วยกลุ่มนี้จะมีประวัติภูมิคุ้มกันต่ำ ภูมิคุ้มกันบกพร่อง อาการอื่นๆ เช่น
การเจ็บคอที่ไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (Non-infectious cause): อาจเกิดจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าไปยังบริเวณลำคอ หรือการใช้เสียงมากเกินไป รวมถึงปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมด้วยสภาพอากาศที่แห้ง เกิดมลพิษทางอากาศ การสูบบุหรี่ การสูดดมควันไฟ สารเคมี ก้างปลาติดคอ และโรคอื่น ๆ เช่น โรคกรดไหลย้อน โรคเนื้องอกในลำคอและกล่องเสียง เป็นต้น
การอักเสบทั่วไปบริเวณคอ
การสัมผัสกับสิ่งที่ทำให้เกิดการระคายเคือง ไม่ว่าจะเป็นมลพิษทางอากาศควัน หรือสารพิษต่างๆ ทำให้เกิดการอักเสบบริเวณเยื่อบุผิวทางช่องคอ นอกเหนือจากนั้นคือโรคภูมิแพ้ เมื่อมีสิ่งกระตุ้นที่ก่อให้เกิดอาการแพ้ จะทำให้เกิดอาการแสบคอ ระคายเคืองคอได้ บางรายเป็นจากกรดไหลย้อนได้ หรือภาวะที่เกิดจากการรักษา ไม่ว่าจะให้เคมีบำบัด หรือการฉายแสง จะส่งผลต่อเยื่อบุผิว จะเกิดการอักเสบต่างๆเกิดขึ้นได้ หรือเกิดการอักเสบบริเวณช่องคอจากสาเหตุอื่นๆ
ระยะเวลาและความรุนแรง
หากมีอาการผู้ป่วยได้รับการรักษาจากแพทย์ ผู้ป่วยอาจได้รับประทานยาปฏิชีวนะ แต่เมื่อผ่านไป 2-3 สัปดาห์ หากอาการไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยมีโอกาสที่จะเกิดโรคอื่น ๆ บริเวณคอได้ หากแพทย์พบและวินิจฉัยก็จะได้รับการรักษาอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากเจ็บแล้วไม่หาย และมีประวัติอื่นๆร่วมด้วยเช่น สูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์เรื้อรังมาเป็นระยะเวลานาน ควรพิจารณาโรคจำพวกนี้ไว้ด้วย หากพบเร็วแพทย์จะเร่งทำการรักษาได้เร็ว
การตรวจวินิจฉัย
ซักประวัติ ตรวจร่างกาย เพื่อทำการวินิจฉัยโรคต่อไป
การรักษา
ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยเฉพาะโรค
ขึ้นอยู่กับแพทย์พิจารณาว่าจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ยาลดอักเสบ และยาที่รักษาตามอาการ อาจจะเป็นลูกอมแก้เจ็บคอ น้ำยากลั้วคอ สเปรย์พ่นคอ หรือยาเม็ดแก้อักเสบต่างๆ
ยาฟ้าทะลายโจร ในผู้ป่วยกลุ่มไข้หวัดต่างๆ ฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยในเรื่องของการลดน้ำมูก เจ็บคอ ต่างๆได้
การป้องกัน
รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ถูกหลักตามโภชนาการ ดื่มน้ำให้เพียงพอ 1- 2 ลิตรต่อวัน ออกกำลังกาย ทำให้ตัวเองสุขภาพแข็งแรงอยู่แสมอ
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานทางวิจัยว่า ทุกคนสามารถติดไข้หวัดได้ปีละ 1-2 ครั้ง วิตามินซีสามารถช่วยลดการเกิด ลดความรุนแรงของโรคได้ โดยวิตามินซีพบได้ในผักผลไม้อยู่แล้ว หากรับประทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการโอกาสติดเชื้อก็จะลดน้อยลง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก: อ.นพ.ฐาปณัฐ อริยานนท์ อาจารย์ประจำหน่วยศัลยกรรมศีรษะและคอ ภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
เรียบเรียง:นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

แกลลอรี่