ตอกย้ำความสำเร็จ!! “Food Soft Power” ผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนภาคเหนือ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่เวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์

2 กรกฎาคม 2568
ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

ตอกย้ำความสำเร็จ!! 

“Food Soft Power” ผลักดันผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนภาคเหนือ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม สู่เวทีเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 

         ศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ร่วมกับศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประสบความสำเร็จในการจัดกิจกรรม “สุดยอดผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นภาคเหนือ: Food Innovation : Lanna Soft Power” เมื่อวันที่ 28-29 มิถุนายน 2568 ณ โครงการจริงใจมาร์เก็ต จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อแสดงศักยภาพของผู้ประกอบการจาก 8 จังหวัดภาคเหนือ ที่พัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารพื้นถิ่นโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ท้องถิ่น  ดำเนินการภายใต้กิจกรรมยกระดับผลิตภัณฑ์อาหารชุมชนโดยการใช้เทคโนโลยี เครื่องจักร นวัตกรรม ที่สอดคล้องกับอัตลักษณ์ประจำถิ่น (ภาคเหนือ) ภายใต้โครงการการยกระดับศูนย์นวัตกรรมอาหารชุมชน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 

ผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการพัฒนาและจัดแสดงในงานมีความหลากหลาย สะท้อนความคิดสร้างสรรค์และทุนวัฒนธรรม ได้แก่

  • น้ำพริกเมี่ยงอยู่ดีกินหวาน (Miang Yu Di Kin Wan Sauce) – เมนูสุขภาพแบบไตลื้อ
  • บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป รส กังปาหม่าล่า ตรา นัมเบอร์วัน (INSTANT NOODLES MALA KARGPA) – เผ็ดชาแบบยูนนาน
  • บราวนี่บาร์รสข้าวซอย (Brownie Bar Khao Soi) – ขนมหวานกลิ่นอายล้านนา
  • บิสกิตอ่องปู (Ong Pu Biscuit) – รสชาติเข้มข้นแบบพื้นบ้าน
  • ห่อนึ่งสาหร่ายไกสำเร็จรูป พร้อมทาน (Steamed Algae with Chili Paste) – รสสมุนไพรหอม นุ่ม
  • ไส้กรอกไก่ดำหนังกรอบ รสไส้อั่วเมืองน่าน (Black chicken sausage,Sai Aue Flavor) – โปรตีนสูง ไขมันต่ำ
  • ชุดน้ำเงี้ยวพร้อมปรุง Nam Ngeaw Set (Suktae) – ดอกงิ้วพะเยาในรูปแบบใหม่
  • ข้าวหนึกงากรอบ ตรา ฮองต๊อง (Glutinous rice & Perilla seed snack) – ขนมพื้นถิ่นที่กินได้ทุกฤดู
  • พาสต้าฟลูซิลี่ถั่ว 3 สี (ตรา เดอะคริกเก็ต) พร้อมซอสข้าวซอย 3 COLORED BEAN PASTA FUSILLI (BRAND THE CRICKETS)– โปรตีนแห่งอนาคต
  • ขนมงาธัญพืชเคลือบช็อกโกแลต (Chocolate covered sesame cereal bars) – สุขภาพดีในทุกคำ

พร้อมกันนี้ภายในงาน นายท่านสิทธิรงณ์ เร่งเงียบ ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมอุตสาหกรรมภาคที่ 1 ให้เกียรติในการมอบ ใบประกาศนียบัตรแก่ผู้เข้าร่วมโครงการทั้ง 10 สถานประกอบการ และมอบรางวัลแก่สถานประกอบการที่ประสบความสำเร็จ (Success Case) จำนวน 3 สถานประกอบการ

  1. วิสาหกิจชุมชนกลุ่มท่องเที่ยวโดยชุมชนไตลื้อเมืองลวงเหนือ จ.เชียงใหม่
  2. วิสาหกิจชุมชนแปรรูปสาหร่ายน้ำจืดครบวงจรบ้านหนองบัว จ.น่าน
  3. อภิชัยฟู้ด&ฟาร์ม จ.น่าน

ทั้งนี้สามารถติดตามและรับชมคลิป VDO ของสถานประกอบการ ทั้ง 10 รายได้ที่ https://cmu.to/LkvGS 

การผสานพลัง ภูมิปัญญา – วัฒนธรรม – เทคโนโลยี คือหัวใจสำคัญของการพัฒนานี้ 
“โครงการนี้ไม่ใช่แค่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ แต่เป็นการต่อยอดทุนทางวัฒนธรรมล้านนา ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมให้กลายเป็นพลังทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน”
— ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชิตาพัณณ์ ใบงิ้วผู้อำนวยการศูนย์นวัตกรรมอาหารและบรรจุภัณฑ์

ข้อมูลโดย : https://www.facebook.com/FIN.CMU/posts/pfbid02xM4AQ8J57UbfKc9XJL75WPsJLt1fNiNYEgx2uBuep4Hxy4etq1gmAPErpDDsjeRUl

แกลลอรี่