หลักสูตร
แยกตามคณะ
ค้นหาหลักสูตร
ปริญญาตรี
ปริญญาโท
ปริญญาเอก
หลักสูตรอื่นๆ
การศึกษา
การรับสมัครระดับปริญญาตรี
การรับสมัครระดับบัณฑิตศึกษา
การรับสมัครหลักสูตรนานาชาติ
ทุนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คณะและหน่วยงาน
คณะ
หน่วยงาน
ส่วนงานอื่นๆ
ข่าวสาร
ข่าวงานวิจัยและนวัตกรรม
ข่าวเด่น
ข่าวบุคคลเด่น
รางวัลและความภาคภูมิใจ
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ภาพข่าวผู้บริหาร
ข่าวรับสมัครงาน
ข่าวจัดซื้อจัดจ้าง
ปฏิทินกิจกรรม
COVID-19 และ PM2.5
กีฬา
Featured
สุขภาพ
กฎหมายกฎระเบียบ
การบริจาค
เทคโนโลยี
ศาสนา
วารสาร
บทความเกี่ยวกับ 60 ปี มช.
เกี่ยวกับ มช.
ประวัติความเป็นมา
ปณิธาน/วิสัยทัศน์/พันธกิจ/ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์กร
อำนาจหน้าที่
เอกลักษณ์องค์กร (CI)
โครงสร้างองค์กรและการบริหารมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แผนพัฒนาการศึกษามช. ระยะ 5 ปี
คณะกรรมการสภามหาวิทยาลัย
คณะผู้บริหารมหาวิทยาลัย
ผู้บริหารส่วนงาน
ผู้บริหารหน่วยงาน
สภาพนักงาน
ลิงค์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
CMU First Year
CMU IT Life
โครงการแลกเปลี่ยน
คลังภาพคลังข่าว
ข้อมูลสาธารณะ
นโยบายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
ติดต่อเรา
ภาษา
ภาษาไทย
อังกฤษ
จีน
TH
|
EN
|
CN
หน้าแรก
ข่าว
ข่าว
พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วม
29 มิถุนายน 2565
คณะเกษตรศาสตร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐ วรยศ รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ดรุณี นาพรหม คณบดีคณะเกษตรศาสตร์ พร้อมด้วย รองศาสตราจารย์ ดร.ไพบูลย์ กวินเลิศวัฒนา ประธานกรรมการที่ปรึกษา ศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการเกษตรและป่าไม้ (AFCC) ดร.สมชัย สมัยสุต รองประธานกรรมการที่ปรึกษาศูนย์ AFCC อ.ดร.มนตรี แสนวังสี หัวหน้าศูนย์ AFCC และคุณณรงค์ เจียมใจบรรจง กรรมการบริษัท เกษตรแก้ว จำกัด ร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือโครงการปลูกป่าอย่างมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศการลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซต์ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน เมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 2565เวลา 10:00 น. ณ ห้องออดิทอเรียม ชั้น 3 อาคาร 50 ปี การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) สำนักงานใหญ่ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี
ซึ่งการดำเนินกิจกรรมภายใต้ความร่วมมือนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยความร่วมมือของศูนย์วิจัยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในการเกษตรและป่าไม้ (AFCC) คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่และชุมชน จะมีรูปแบบการดำเนินการแบบวนเกษตรโดยการปลูกป่าที่ให้ผลทางเศรษฐกิจสูง และให้ปริมาณคาร์บอนสูง รวมถึงการปลูกพืชสวนระยะสั้น เช่น พืชสมุนไพร พืชพลังงาน และพืชอาหาร ส่งเสริมการยกระดับคุณภาพชีวิตด้านเศรษฐกิจและสังคมของชุมชนด้วยเทคโนโลยีด้านการเกษตรและป่าไม้เพื่อให้เกษตรกร (ชุมชน) มีรายได้ที่ดีควบคู่ไปกับการส่งเสริมและฟื้นฟูความอุดมสมบูรณ์ของระบบนิเวศ การลดก๊าซเรือนกระจกและเพิ่มศักยภาพการกักเก็บคาร์บอนไดออกไซด์ด้วยการสร้างการมีส่วนร่วมของชุมชนในการปลูกและบริหารจัดการป่าอย่างยั่งยืน
ประชุมสัมมนา/กิจกรรมของมหาวิทยาลัย
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: