CAMT และ STeP หารือต่อยอดความร่วมมือกับ University of vora ณ สาธารณรัฐโปรตุเกส

10 เมษายน 2567

วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี

     วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี ร่วมกับอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เดินทางเข้าพบ The Alentejo Science and Technology Park (PACT), Department of Computer Sciences Engineering, และ School of Social Sciences ณ University of ?vora สาธารณรัฐโปรตุเกส ระหว่างวันที่ 2 – 4 เมษายน 2567 ที่ผ่านมา ภายใต้โครงการริเริ่มต่อยอดความร่วมมือเพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากร การวิจัย และพัฒนา (Seed Initiatives)

      รองศาสตราจารย์ ดร. ปิติวัฒน์ วัฒนชัย ผู้อำนวยการ ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และอาจารย์ ดร. ภวิกา มงคลกิจทวีผล ผู้จัดการโครงการอุทยานฯ พร้อมด้วยคณาจารย์ วิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (CAMT) ประกอบด้วย อาจารย์ ดร.อฬิญญา พงษ์วาท อาจารย์ ดร.บุณฑริกา ปภาวสิทธิ์ และอาจารย์ ธิสินี สุรพันธ์ เข้าร่วมหารือความร่วมมือ ร่วมกับ Prof. Soumodip Sarkar ผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์ PACT และ Hugo Valadas ตำแหน่ง Business Development Executive เพื่อต่อยอดระบบนิเวศนวัตกรรมให้กับเครือข่ายอาจารย์ นักวิจัย และผู้ประกอบการในธุรกิจอุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์ (Creative Digital) โดยได้หารือความร่วมมือทางวิชาการ การพัฒนาหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา งานวิจัย ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมดิจิทัลสร้างสรรค์ (Creative Digital) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (Tourism Industry) รวมถึงการเชื่อมโยงองค์ความรู้เพื่อต่อยอดกระบวนการด้านการถ่ายทอดนวัตกรรม (Technology Transfer) โดยเฉพาะด้านดิจิทัลสร้างสรรค์ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว เพื่อส่งเสริมระบบนิเวศนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพผู้ประกอบการและผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ยกระดับอุตสาหกรรมเป้าหมายในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจกิจพิเศษให้สามารถรองรับการวิจัยขั้นแนวหน้า (Frontier Technology) และการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมสู่อุตสาหกรรมอนาคต (Future Industry) เพื่อรองรับพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ของประเทศและเพื่อให้พร้อมรับต่อการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 ในวันอังคารที่ 2 เมษายน 2567

     ทั้งนี้ได้รับเชิญจาก Associate Professor Teresa Gon?alves เพื่อสอนในรายวิชา Research Methodology สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี ปีที่ 2 หลักสูตร Computer Sciences Engineering โดย อาจารย์ ธิสินี สุรพันธ์ อาจารย์ ดร.อฬิญญา พงษ์วาท และ อาจารย์ ดร.บุณฑริกา ปภาวสิทธิ์ ในหัวข้อ การวิจัยโดยใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศสำหรับภาคการท่องเที่ยวและภาคธุรกิจ มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหาด้านการค้นหาโจทย์วิจัย กระบวนการวิจัย การพัฒนางานวิจัยโดยใช้ความมรู้ ความเข้าใจ และความเป็นมาตรฐานทางวิชาการอย่างเป็นระบบ และนำเสนอแนวทางการใช้เทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือในการพัฒนาองค์ความรู้ด้านการท่องเที่ยวและด้านธุรกิจได้อย่างเหมาะสม นอกจากนั้นยังได้เข้าพบคณาจารย์ Department of Computer Sciences Engineering เพื่อหารือแนวทางการต่อยอดความร่วมมือเพื่อแลกเปลี่ยนอาจารย์ นักวิจัย นักศึกษาในหลักสูตร และผู้มีความเชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องของทั้ง 2 สถาบัน ในพุธวันที่ 3 เมษายน

     พร้อมทั้งได้เข้าพบ Professor Paulo Quaresma ตำแหน่ง Vice-Rector for Research, Innovation and Internationalization และ Associate Professor V?tor Beires Nogueira ตำแหน่ง Pro-Rector for Digital Transformation and Open Science เพื่อเชื่อมโยงความร่วมมือด้านการวิจัยและการเรียนการสอนในระดับมหาวิทยาลัยให้ครอบคลุมด้านอื่น ๆ ที่สำคัญ เช่น การพัฒนาเพื่อความยั่งยืน การพัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และ Startup เป็นต้น อีกทั้งยังได้พบปะคณาจารย์จาก School of Social Sciences ที่มีความร่วมมือกันในการพัฒนาโครงการเพื่อขอทุน ERASMUS+ ในปี 2024 ด้านการถ่ายทอดองค์ความรู้การจัดการการท่องเที่ยว เช่น การท่องเที่ยวสีเขียว การท่องเที่ยวดิจิทัล เป็นต้น ซึ่งถือเป็นการต่อยอดความร่วมมือจากโครงการ OFOM นอกจากนั้นยังได้เข้าเยี่ยมชม ARTERIA LAB (Arts, Entrepreneurship, Research, Innovation & Application) ซึ่งเป็น Fablab ของมหาวิทยาลัย หรือศูนย์พัฒนาผลงานศิลปะ และการออกแบบสำหรับนักศึกษาและผู้ที่สนใจ โดยนำเอาองค์ความรู้ที่ได้จากวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ในชุมชนมาบอกเล่าเรื่องราวผ่านผลงานในรูปแบบต่าง ๆ และนำไปใช้จริงในสถานที่ท่องเที่ยว พื้นที่สาธารณะ และยังเปิดให้ผู้ประกอบการภายนอกได้เข้ามาทดลองพัฒนาผลงานของตน โดยใช้ 3D Printer, Laser Machine เป็นต้น ก่อนนำไปผลิตเป็นสินค้าจริงเพื่อการขายในท้องตลาดต่อไปอีกด้วย ในวันพฤหัสบดีที่ 4 เมษายน 2567

     การเยี่ยมเยือนครั้งนี้ เป็นแสดงถึงความสัมพันธ์อันแน่นแฟ้นของทั้ง 2 สถาบัน และความมุ่งมั่นที่จะร่วมกันพัฒนาองค์ความรู้ทั้งทางด้าน Computer Science การท่องเที่ยว การสร้างนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และการแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานที่เน้นการพัฒนาอย่างยั่งยืน ทั้งในมิติทางเศรษฐกิจ สังคมวัฒนธรรม และการศึกษาต่อไป

แกลลอรี่