การตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟอะราบิก้าด้วยเทคนิค เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (NIRS) ร่วมกับเคโมเมทริกซ์

10 กันยายน 2564

คณะเกษตรศาสตร์

การตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟอะราบิก้าด้วยเทคนิค เนียร์อินฟราเรดสเปกโทรสโกปี (NIRS) ร่วมกับเคโมเมทริกซ์ โดยตรวจหาความบกพร่อง 3 ลักษณะ ได้แก่ เมล็ดแตก เมล็ดแมลงถูกทำลาย และผลกาแฟแห้ง ที่มีระดับการปลอมปนในเมล็ดกาแฟดิบ 13 ระดับ โดยวัดสเปกตรัมแบบสะท้อนกลับของแสงด้วยเครื่อง NIRSystem 6500 (ช่วงความยาวคลื่น 400-2500 นาโนเมตร) เครื่อง MPA (วงความยาวคลื่น 800-2500 นาโนเมตร) และเครื่อง Portable NIR (ช่วงความยาวคลื่น 900-1700 นาโนเมตร) วิเคราะห์สเปกตรัมด้วยเทคนิค principle component analysis (PCA) เพื่อตรวจสอบความแปรปรวนของข้อมูล จากนั้นสร้างสมการเทียบมาตรฐานด้วยเทคนิค partial least square regression (PLS) เพื่อตรวจหาปริมาณความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบ พบว่า NIR spectrometer ทั้งสามเครื่องสามารถตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบอะราบิกาได้ โดยสามารถแสดงความแตกต่างของข้อมูลสเปกตรัมแต่ละระดับปลอมปนได้ด้วยเทคนิค PCA และสมการเทียบมาตรฐานสามารถตรวจหาปริมาณความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบได้แม่นยำ โดยเฉพาะเครื่อง NIRSystem 6500 และเครื่อง MPA ที่มีประสิทธิภาพสูงในการตรวจสอบ สามารถประยุกต์ใช้ควบคุมคุณภาพผลผลิต (quality assurance) ได้ ดังนั้น การใช้เทคนิค NIRS และเคโมเมทริกซ์สามารถตรวจหาความบกพร่องในเมล็ดกาแฟดิบอะราบิกาได้อย่างแม่นยำ ผลงานวิจัยจากคณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ตีพิมพ์ลงวารสาร Chiang Mai Journal of Science ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่  https://epg.science.cmu.ac.th/ejournal/journal-detail.php?id=11467&fbclid=IwAR1EuWVWLdXwDpdt2Dwsr2Skvpl8iownH12IgX2CxoMMxtvrbF962ineKFM 

 
#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์
#ศูนย์ความเป็นเลิศศูนย์พัฒนากาแฟล้านนาไทย
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUBGCmodel #CMUSDGs #CMUSDG1 #CMUSDG2 #CMUSDG3

แกลลอรี่