มช. จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “พม่าศึกษา” ครั้งที่ 3

23 กุมภาพันธ์ 2564

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

มช. จัดประชุมวิชาการนานาชาติ “พม่าศึกษา” ครั้งที่ 3
(3rd International Conference on Burma/Myanmar Studies / ICBMS III)

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยศูนย์ภูมิภาคด้านสังคมศาสตร์และการพัฒนาอย่างยั่งยืน คณะสังคมศาสตร์ กำหนดจัดการประชุมวิชาการนานาชาติ “พม่าศึกษา” ครั้งที่ 3 (ICBMS 3) ในหัวข้อ “Myanmar/Burma in the Changing Southeast Asian Context ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ ระหว่างวันที่ 5 – 7 มีนาคม 2564 ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อมของสหภาพเมียนมา ตลอดจนสร้างความเข้มแข็งทางวิชาการให้นักวิชาการชาวเมียนมารุ่นใหม่ ส่งเสริมให้มีเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนทางวิชาการระหว่างนักวิชาการเมียนมา นักวิชาการไทยและภูมิภาคอื่น ๆ ที่มีความสนใจในประเด็นพม่าศึกษา ได้พบปะแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ร่วมกัน

การประชุม “พม่าศึกษา” ครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากคุณสุพัตรา ศรีไมตรีพิทักษ์ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงย่างกุ้ง และศาสตราจารย์คลินิก นายแพทย์นิเวศน์ นันทจิต อธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ Professor Dr. Thein Win, Acting Rector of University of Mandalay and Director General, Department of Higher Education, Ministry of Education ร่วมเป็นประธานเปิดการประชุม โดยมีศาสตราจารย์พิเศษ ดร. สุรเกียรติ์ เสถียรไทย อดีตรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ประธานคณะมนตรีเพื่อสันติภาพและความปรองดองแห่งเอเชีย Asian Peace Reconciliation Council (APRC) เป็นองค์ปาฐกแสดงปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Economic Development and Myanmar in the New Geopolitical Landscape” เวลา 09.15- 10.00 น. ในงานประชุม

พิธีเปิดการประชุมจะมีขึ้นในเวลา  08.45 - 9.15 น. และ เวลา 09.15- 10.00 น. ปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “Economic Development and Myanmar in the New Geopolitical Landscape”


การประชุม “พม่าศึกษา” กำหนดจัดประชุมเป็นประจำทุกๆ 2 ปี สำหรับการประชุมในครั้งนี้ นับเป็นการจัดประชุมครั้งที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม และเนื่องจากสถานการณ์การระบาดของ Corona Virus – 19 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ปรับรูปแบบการประชุมทั้งแบบออนไลน์ผ่านระบบ ZOOM และแบบออนไซต์ ณ สำนักบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในเบื้องต้นมีผู้สนใจทั้งชาวไทย ชาวเมียนมา และ ผู้ที่สนใจจากประเทศต่างๆ ลงทะเบียนร่วมงานมากกว่า 200 คน โดยในการประชุมจะมีการนำเสนอบทความ 57 บทความ และการจัดเวทีเสวนาโต๊ะกลม 7 เวที นอกจากนี้ ภายในงานยังมีการจัดกิจกรรมอื่น ๆ ที่สร้างสีสัน อาทิเช่น การแสดงนิทรรศการและการเปิดตัวหนังสือของสำนักพิมพ์ เป็นต้น


บทความที่นำเสนอ

  • Economic Development, Transnational Investment & East Asia Power
  • Peace Process, Ethnic Inclusion/Exclusion, & Governance
  • Migration, Migrant Workers and Borderland
  • Agrarian Transformation, Climate Change and Resource Management
  • Education, Mother tongue Language Education & Language
  • Popular Religion, Religion, and Harmony
  • Urban Space, Inequality & Social Movement
  • Gender & Development
  • Food, Health & Inequality
  • Media
  • Media, Consumption & Representation
  • History & Social Memory


การจัดประชุมวิชาการนานาชาติพม่าศึกษาจัดขึ้นครั้งแรกโดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์และสถาบันนานาชาติเพื่อการศึกษาแห่งเอเชีย (IIAS) ไลเดนประเทศเนเธอร์แลนด์ ณ เชียงใหม่ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2558 ภายใต้หัวข้อ ""BURMA/MYANMAR IN TRANSITION Connectivity, Changes and Challenges"" การจัดครั้งแรกเป็นงานที่ประสบความสำเร็จอย่างมากและได้รับการตอบรับจากการรับผู้เข้าร่วม 543 คนจาก 29 ประเทศ มีการเสนอบทความถึง 258 บทความ และมีผู้ร่วมเวทีเสวนาโต๊ะกลมถึง 7 เวที โดยได้รวบรวมนักวิชาการนักวิจัยนักข่าวคนงานองค์กรพัฒนาเอกชนและผู้สังเกตการณ์จากพม่า/เมียนมารวมทั้งจากทั่วโลกเพื่อเข้าร่วมหารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของเมียนมา

อีกครั้งในการประชุมนานาชาติเรื่องพม่า/เมียนมาศึกษา ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยมัณฑะเลย์ ความสำเร็จในการมีส่วนร่วมของนักวิชาการชั้นนำระดับนานาชาติและนักศึกษาเกี่ยวกับการศึกษาพม่า/เมียนมารวมทั้งผู้ปฏิบัติงานที่สนใจสถานการณ์ปัจจุบันในเมียนมาได้รวมตัวกันอีกครั้งเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนาซ้ำแล้วซ้ำเล่า การประชุมครั้งนี้เป็นที่น่าประทับใจและประสบความสำเร็จมีการเสนอบทความถึง 171 บทความ และร่วมเวทีเสวนาโต๊ะกลมถึง 8 เวที สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จของการประชุมในการเป็นเวทีสำหรับการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นทางวิชาการและการสนทนาระหว่างนักวิชาการพม่า/เมียนมาจากทั่วโลกและเพื่อดึงดูดเยาวชนและนักวิชาการและนักวิจัยเพื่อเข้าร่วมในเวทีวิชาการระดับนานาชาตินี้

ดูรายละเอียดการจัดงานเพิ่มเติมได้ที่ https://www.burmaconference.com/about-icbms/

#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน

#CMUSDGs #CMUSDG1 #CMUSDG2 #CMUSDG3 #CMUSDG4 #CMUSDG5 #CMUSDG8 #CMUSDG9 #CMUSDG10 #CMUSDG11 #CMUSDG13 #CMUSDG16 #CMUSDG17

แกลลอรี่