“ผ่อดีดี” แอปพลิเคชันสัญชาติไทย จาก มช. ระบบเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์สู่คนที่ชุมชนมีส่วนร่วม รับรางวัลชนะเลิศ The Trinity Challenge จากอังกฤษ

26 มิถุนายน 2564

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

“ผ่อดีดี” แอปพลิเคชันสัญชาติไทย จากศูนย์ผ่อดีดี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยบริษัทโอเพ่นดรีม เปลี่ยนเกษตรกรไทยและชุมชน ให้เป็นนักสืบโรคเพื่อเฝ้าระวังโรคติดต่อจากสัตว์สู่คน คว้าเงินรางวัลชนะเลิศมูลค่า 1.3 ล้านปอนด์จากอังกฤษในโครงการ The Trinity Challenge รางวัลชนะเลิศด้าน การตรวจจับโรคระบาด (Identify) ในประชากรสัตว์ ก่อนการติดต่อสู่มนุษย์ และกลายเป็นโรคระบาดใหญ่ข้ามทวีป เงินรางวัลที่ได้รับจะใช้สำหรับขยายผล Solutions แก้ปัญหาโรคระบาดใหญ่ข้ามทวีป ด้วย data & analytics ให้โลกมีความพร้อม และ ตอบสนองต่อวิกฤตโรคระบาดอุบัติใหม่ ได้ดีกว่าเดิม


ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือ Participatory Onehealth Disease Detection: PODD (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) ได้นำแอปพลิเคชัน PODD หรือ “ผ่อดีดี” ช่วยเฝ้าระวังสุขภาพคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อมในชุมชน

"ผ่อดีดี" หรือ PODD เป็นระบบปฏิบัติการและโปรแกรมดิจิทัลสำหรับเฝ้าระวังและจัดการโรค/ภัยพิบัติ ที่ชุมชนใช้งานและร่วมเป็นเจ้าของ ทำงานภายใต้ความร่วมมือของรัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวระดับตำบล ของอปท. เพื่อมุ่งหวังให้ อปท. มีเครื่องมือตรวจจับเหตุผิดปกติสุขภาพหนึ่งเดียวได้อย่างรวดเร็ว (Early Detection) โดยอาศัยสมาร์ทโฟนรายงาน ประมวลผล และแจ้งข่าวสารอัตโนมัติแบบ real time ทำให้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) จัดการตอบสนองขั้นต้นในการระงับเหตุด้วยต้นเองอย่างรวดเร็ว และได้ผล ตามแผนตอบสนองฉุกเฉินระดับตำบล (Rapid Response) มีผลช่วยสร้างความสามารถในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลและเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในระดับรากฐาน พร้อมช่วยเสริมประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์ และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการทำงานของภาครัฐ สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหาร

ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ดำเนินการพัฒนาระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว ในคน สัตว์ สิ่งแวดล้อม และสาธารณภัย ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนสามารถรายงานเหตุผิดปกติที่เกิดขึ้นในชุมชนผ่านแอปพลิเคชันบนมือถือ และมีการแจ้งเตือนไปยังองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) ที่รับผิดชอบ ตลอดจนหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อด าเนินแก้ไขปัญหาให้กับชุมชนได้อย่างทันท่วงทีและมีใจความส าคัญคือการมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของของชุมชนและ อปท. ตลอดระยะเวลาตั้งแต่ปีพ.ศ. 2557 ระบบดิจิทัลผ่อดีดีมีการพัฒนาต่อเนื่อง เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชน ในปัจจุบันสามารถเฝ้าระวังปัญหาของชุมชนมากกว่า 14 ฟีเจอร์ ประกอบด้วย

1. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า - สัตว์กัด (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-bite.html)

2. ฟีเจอร์ ควบคุมไข้เลือดออก

2.1) สำรวจลูกน้ำยุงลาย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ www.cmonehealth.org/tutorial/report-larva.html)

2.2) ระบุพิกัดผู้ป่วยไข้เลือดออก (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-gps.html)

3. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดสัตว์ (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-sick.html)

4. ฟีเจอร์ เฝ้าระวังเรื่องโรคระบาดผิดปกติในคน (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-disease.html)

5. ฟีเจอร์ รายงานและช่วยจัดการไฟป่าและหมอกควัน (สามารถศึกษาการใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-fire.html)

6. ฟีเจอร์ สิ่งแวดล้อม (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-environment.html)

7. ฟีเจอร์ คุ้มครองผู้บริโภค (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-protection.html)

8. ฟีเจอร์ อาหารปลอดภัย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-food.html)

9. ฟีเจอร์ จุดหรือกิจกรรมเสี่ยงต่อภัยสุขภาพ (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-risky.html)

10. ฟีเจอร์ ภัยธรรมชาติ และสาธารณภัย (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-disaster.html)

11. ฟีเจอร์ แจ้งรับความช่วยเหลือผู้ป่วยติดเตียง (การใช้งาน แอปพลิเคชัน เพิ่มเติมได้ที่ http://www.cmonehealth.org/tutorial/report-bed-patient.html)

12. ฟีเจอร์ สำรวจประชากรสุนั-แมว (กำลังอัปเดท ข้อมูล)

13. podd PGS รับรองเกษตรอินทรีย์

14. เฝ้าระวังโรคโควิด-19

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม PODD ได้ที่ http://www.cmonehealth.org/home

ติดตามรายละเอียด ผ่อดีดี (PODD) ระบบเฝ้าระวังภัยที่ชุมชนมีส่วนร่วมจาก มช. ได้ที่ https://sdgs.cmu.ac.th/th/ArticleDetail/4ce9ebf4-40ba-48ee-9c03-6f4ae1dd9968


แกลลอรี่