“โครงการน้องใหม่ล่าสุดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมเปิดตัว 7 กันยายน นี้”

6 กันยายน 2564
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เผยโครงการน้องใหม่ล่าสุดในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่พร้อมเปิดตัว “โครงการสังคมแห่งสุขภาวะทางเพศที่ชาญฉลาดและยั่งยืนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ซึ่งหยิบเรื่องราวของสุขภาวะทางเพศที่เป็นมิติด้านสุขภาพที่มักถูกมองข้ามทั้งที่เป็นเรื่องพื้นฐานที่มีผลกระทบต่อสุขภาวะโดยรวมของคน ครอบครัว หรือสังคม มาดำเนินการภายในโครงการ “โครงการสังคมแห่งสุขภาวะทางเพศที่ชาญฉลาดและยั่งยืนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่” ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ (Healthy CMU) ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 เชิงรุก : นวัตกรรมด้านอาหารและสุขภาพ และการดูแลผู้สูงอายุ ตามแผนพัฒนาการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ระยะที่ 12 และดำเนินโครงการในหลากหลายรูปแบบผ่านทางกิจกรรม พร้อมเปิดตัวทางเพจ ช้างยิ้ม ในวันอังคารที่ 7 กันยายน นี้

โครงการสังคมแห่งสุขภาวะทางเพศที่ชาญฉลาดและยั่งยืนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในการขับเคลื่อนสู่มหาวิทยาลัยสุขภาพ (Healthy CMU) เป้าหมายของโครงการเพื่อเพื่อส่งเสริมให้บุคลากรและนักศึกษาของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีสุขภาพที่ดีในทุกมิติ การส่งเสริมสุขภาวะด้านเพศจึงเป็นส่วนสำคัญที่ขาดไม่ได้ การจัดทำโครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศในแง่มุมต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้ด้านเพศอย่างเหมาะสม (comprehensive sex education) ที่ประกอบไปด้วยหัวข้อที่ครอบคลุมเช่น ความหลากหลายทางเพศ การมีเพศสัมพันธ์ปลอดภัย ตลอดจนการมีสุขภาพจิตใจที่ดี ผ่านการจัดการการเรียนรู้ การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรและนักศึกษา จะเป็นประโยชน์ต่อการเสริมสร้างสุขภาวะด้านเพศที่ดีได้ในระยะยาว ลดปัญหาการกลั่นแกล้งหรือเลือกปฏิบัติ และยังช่วยสร้างภูมิคุ้มกันต่อการมีเพศสัมพันธ์ไม่ปลอดภัยได้อีกด้วย นอกจากการสร้างความรู้ความเข้าใจแล้ว การสร้างกลุ่มผู้นำและเครือข่ายสุขภาพเพศในกลุ่มนักศึกษาเพื่อเสริมสร้างสุขอนามัยด้านเพศจะสามารถช่วยส่งเสริมสุขภาวะของบุคคลและสังคมในองค์รวมได้อย่างยั่งยืน การจัดโครงการเสริมสร้างสุขภาวะทางเพศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่นี้ยังสามารถเป็นแบบอย่างให้แก่องค์กรอื่นได้ และในส่วนขององค์ความรู้และนวัตกรรม เช่นหลักสูตรการสอนเพศศึกษาแนวใหม่ ระบบการสร้างเครือข่ายผู้นำสุขภาพ ก็สามารถนำไปเป็นเครื่องมือเพื่อพัฒนาหน่วยองค์กรอื่น ๆ เพื่อเป็นการบริการวิชาการต่อสังคมได้ หรืออาจเผยแพร่เพื่อสร้างรายได้แก่มหาวิทยาลัยเช่นการเปิดหลักสูตรอบรมหลักสูตรการสอนเพศศึกษาแนวใหม่แก่หน่วยงานหรือผู้สนใจเป็นการเพิ่มรายรับให้แก่มหาวิทยาลัยได้อีกทางหนึ่ง

การดำเนินกิจกรรมในภาพรวมให้เป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้ในระยะเวลา 2 ปี มีกการขับเคลื่อนกระบวนการผ่านตัวแทนหรือเรียกว่าแกนนำสุขภาพ โดยการจัดการเรียนรู้และอบรม ให้แก่บุคลากร และนักศึกษาในแต่ละคณะ หรือหน่วยงานต่าง ๆในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ให้มีส่วนร่วมในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศอย่าง เป็นรูปธรรม พัฒนาระบบฐานข้อมูลสุขภาวะทางเพศของบุคลากร และนักศึกษา เพื่อให้เกิดการนำข้อมูลมาใช้ประโยชน์สูงสุดในการประเมินความเสี่ยงด้านสุขภาวะทางเพศ และการวิเคราะห์แนวทางการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมทั้งในระดับมหาวิทยาลัย คณะ และบุคคล จัดกิจกรรมด้านการพัฒนาที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศของ บุคลากรอย่างต่อเนื่อง จัดกิจกรรมรณรงค์ในวงกว้าง เพื่อสร้างความรู้ ความเข้าใจการสร้างเสริมสุขภาวะทั้งมหาวิทยาลัย โดยแนวทางการดำเนินกิจกรรมการสร้างเสริมสุขภาวะทางเพศในมหาวิทยาลัยเชียงใหม่แบ่งระยะการดำเนินการ 2 ปีดังนี้

ระยะที่ 1 ปีพ.ศ. 2564 สร้างฐานข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพวะทางเพศ จัดให้มีแกนนำสุขภาพ เพื่อการ
พัฒนาที่ยั่งยืน จัดการเรียนรู้และการอบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่บุคลากรแลนักศึกษาเพื่อสร้างความตระหนักใน
ระดับมหาวิทยาลัย คณะ และระดับบุคคล ประกอบด้วยกิจกรรมย่อย 5 กิจกรรม

ระยะที่ 2 ปีพ.ศ. 2565 มีวัตถุประสงค์สร้างหลักสูตรแกนกลาง (comprehensive sex education) ในการดำเนินการด้านสร้างเสริมสุขภาพ เพื่อเป็นคู่มือในการฝึกอบรมให้ความรู้แก่ นักศึกษาและบุคลากร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และหน่วยงานอื่นที่สนใจในวงกว้างต่อไป เพื่อสร้างความเข้าใจและสร้างความตระหนักเกี่ยวกับความหลากหลายทางเพศ สุขภาวะทางเพศและสุขภาพจิต เพื่อส่งเสริมสุขภาพของบุคคลในมหาวิทยาลัย และลดความเสี่ยงต่อสุขภาพที่เกิดจาก การมีพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการใช้สารเสพติด การพัฒนานวัตกรรมการคัดกรอง และเฝ้าระวังภาวะสุขภาพเบื้องต้นด้วยตนเอง พัฒนาระบบส่งต่อ และการจัดบริการทางการแพทย์สำหรับบุคลากรและนักศึกษาที่มีความจำเป็น

ติดตามรับชมการเปิดตัวโครงการได้ทาง แฟนแพจ ช้างยิ้ม ในวันอังคารรที่ 7 กันยายน 2564 เวลา 13.45 น. เป็นต้นไป สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร 053 936148 ต่อ 442

แกลลอรี่