มช. สุดเจ๋ง ชนะเลิศ FoSTAT กับนวัตกรรม “น้ำปลาจากสาหร่ายพวงองุ่น” รายแรกของประเทศไทย พร้อมสเกลสู่ตลาดโลก

21 มิถุนายน 2566

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

นักศึกษาอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ สร้างสรรค์น้ำปลาทางเลือกใหม่จากสาหร่ายพวงองุ่น “Kaizo” Fish Sauce Alternative ชนะเลิศถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากงาน FoSTAT Food Innovation Contest 2023 ในธีมTomorrow Food Innovation เวทีประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 15 โดยสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย
.
“Kaizo” Fish Sauce Alternative น้ำปลาทางเลือกใหม่จากสาหร่ายพวงองุ่น เป็นผลงานจากความคิดสร้างสรรค์ของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีจุดประกายแนวคิดว่า ปัจจุบันตลาด plant based มีการเติบโตขึ้นและมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงตลาดเครื่องปรุงที่เติบโตไม่แพ้กัน ตลอดจนกระแสของผู้คนรักสุขภาพมีจำนวนมากขึ้น แต่เนื่องจากผู้รับประทานอาหาร plant based ยังมีเครื่องปรุงรสให้เลือกน้อย จึงได้คิดผลิตภัณฑ์ kaizo ขึ้นมา โดยทำมาจากสาหร่ายพวงองุ่น ผ่านกระบวนการย่อยเพื่อให้ได้อะมิโน จากนั้นนำไปให้ความร้อนสูงและทำให้ใสขึ้น จุดเด่นของน้ำปลาทางเลือกใหม่จากสาหร่ายพวงองุ่น คือ มีกลิ่นคล้ายน้ำปลาจริงและรสชาติที่เหมือนกับน้ำปลาแท้ รวมไปถึงยังเป็นการเพิ่มมูลค่าให้แก่สาหร่ายพวงองุ่นอีกด้วย
.
ผลงานชนะเลิศฯ ครั้งนี้ เป็นผลงานของทีมแม่พวง นักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยมีสมาชิกทีม ประกอบด้วย นางสาวกุสุมา รักษายศ นางสาวจันทิมา ศักดิ์ปฏิฐา นางสาวฉันทพิชญา สุนทรสวัสดิ์ นางสาวชนินาถ ซาวคำเขตต์ นางสาวดรัลพร ชุ่มแก้ว และนางสาวศุพรัตน์ อินถา โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาของทีม ได้แก่ ผศ.ดร.รชนิภาส สุแก้ว สมัครธำรงไทย อ.อิศรพงษ์ พงษ์ศิริกุล ผศ.ดร.ปิยวรรณ สิมะไพศาล ผศ.สุวรรณา เดชะรัตนางกูร อ.ดร.ชิตาพัณณ์ ใบงิ้ว อ.ดร.พรจันทร์ วอลเตอร์ และ อ.ดร.ปวาลี ชมภูรัตน์ ธฤติธนเกียรติ์
.
นอกจากนี้ ยังมีผลงานของนักศึกษาคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับรางวัลชมเชย และรางวัลโปสเตอร์ยอดเยี่ยมจากการประกวดครั้งนี้ด้วย คือ ทีม Amazing A จากผลิตภัณฑ์ มักหมักชิปส์ (Mak Mak Chips) ประกอบไปด้วย นายเคนโตะ โชจิ นางสาวพลอยไพลิน เขียวเพ็ชร นางสาว YURIM LEE นางสาวรัตนาภรณ์ รินปัน และนางสาวนาโอมิ อิสราเอล (คณะการสื่อสารมวลชน) โดยมีอาจารย์ที่ปรึกษาของทีม ได้แก่ ผศ. ดร. สุพัฒน์ พงษ์ไทย ผศ. ดร.วรรณพร คลังเพชร อุเอโนะ และอ.ดร.พิพรรธ ตั้งใจดี
.
การประกวดนวัตกรรมผลิตภัณฑ์อาหาร ปีที่ 15 "FoSTAT Food Innovation Contest 2023" จัดขึ้นโดยมีสมาคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอาหารแห่งประเทศไทย เป็นเจ้าภาพหลัก ซึ่งมีนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีจากทั่วประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน ซึ่งปีนี้มาในธีม "Tomorrow Food Innovation" ชิงถ้วยรางวัลพระราชทาน สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พร้อมเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 100,000 บาท จัดขึ้นเมื่อวันที่ วันที่ 16 มิถุนายน 2566 ณ ศูนย์นิทรรศการและการประชุมไบเทค บางนา โดยเป็นเวทีที่สนับสนุนให้นักศึกษาระดับปริญญาตรีด้านวิทยาศาสตรและเทคโนโลยีทางอาหารและอุตสาหกรรมเกษตร ให้มีความคิดสร้างสรรค ใช้ความรู้ความสามารถทางด้านวิชาการ และส่งเสริมการทํางานเป็นทีม นอกจากนี้ ยังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนสามารถเสาะหาบุคลากรที่มีคุณภาพจากสถานศึกษาเข้าร่วมทํางานในองค์กร และได้คัดเลือกแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารที่เข้ารวมการประกวดไปพัฒนาในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนเตรียมความพร้อมและปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของอุตสาหกรรมอาหารทั่วโลกในอนาคต
.
ภาพและข้อมูล : คณะอุตสาหกรรมเกษตร มช.
แกลลอรี่