CAMT CMU แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Alpha Academy

4 เมษายน 2565

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

                  รองศาสตราจารย์ โรม จิรานุกรม รองอธิการบดี ผู้แทนอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ Alpha Academy โดยมีผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดีวิทยาลัยศิลปะ สื่อและเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวรายงาน ซึ่งโครงการ Alpha Academy เป็นหลักสูตรสมัยใหม่ที่จัดระบบการเรียนการสอนรูปแบบสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Learning Platform) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษา สร้างมาตรฐานด้านองค์ความรู้และทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital skill) ที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสหกรรมดิจิทัล ณ ห้องนิมมานคอนเวนชันฮอลล์ โรงแรมยู นิมมาน เชียงใหม่ วันจันทร์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2565

                 วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งพลิกโฉมระบบการศึกษาไทย ตามแนวทางการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีการศึกษาแบบ New normal โดยการสร้างนวัตกรรมระบบการเรียนการสอนรูปแบบสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Learning Platform) เพื่อขยายโอกาสทางการศึกษาและสร้างมาตรฐานด้านองค์ความรู้และทักษะดิจิทัลเทคโนโลยี (Digital skill) ที่ตรงตามความต้องการของภาคอุตสหกรรมดิจิทัล
                 ในปัจจุบันความต้องการของตลาดแรงงาน ในอุตสาหกรรมดิจิทัลเพิ่มสูงขึ้น แต่การผลิตบุคลากรทางด้าน IT ในแต่ละปีมีไม่เพียงพอต่อภาคอุตสาหกรรม จึงเกิดความร่วมมือระหว่างภาคการศึกษาและภาคอุตสาหกรรม มุ่งสร้างบุคลากรทางด้าน IT ให้กับเยาวชนรุ่นใหม่ตั้งแต่ระดับชั้นมัธยมศึกษา เพื่อพัฒนาทักษะแรงงานในอุตสาหกรรมดิจิทัล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรวิชญ์ จันทร์ฉาย คณบดี วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวถึง โครงการ Alpha Academy โดย วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่ามีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษา โดยได้คัดเลือกองค์ความรู้ที่มีความเหมาะสมและมีความจำเป็นสำหรับเยาวชนในยุคปัจจุบัน เน้นการพัฒนาทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะสารสนเทศ สื่อ เทคโนโลยี ทักษะชีวิตและอาชีพ โดยปัจจุบันมีเนื้อหาหลักสูตรที่จัดสอน มีจำนวน 5 หลักสูตร ได้แก่


                            1.หลักสูตรพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-Commerce)
                            2.หลักสูตรการพัฒนาแอปพลิเคชัน (Rapid Application)
                            3.หลักสูตรเทคโนโลยีการจัดการเว็บไซต์ (Web Management)
                            4.หลักสูตรเทคโนโลยีควบคุมอัจฉริยะ (Interactive Embedded Software)
                            5.หลักสูตรเทคโนโลยีทางการเงิน (FinTech)


               ด้วยการสร้างนวัตกรรมระบบการเรียนการสอนออนไลน์ในรูปแบบ Digital Learning Platform รวบรวมเนื้อหาบทเรียนและการประเมินผลการเรียนไว้ภายในระบบ เพื่อสร้างแพลต์ฟอร์มการบริการด้านการศึกษาในรูปแบบออนไลน์อย่างครบวงจร อีกทั้งยังสนับสนุนกระบวนการเรียนรู้และการพัฒนาทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ให้แก่นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาสามารถเข้าถึงช่องทางการศึกษาที่ทันสมัยซึ่งระบบการเรียนการสอนในรูปแบบสื่อดิจิทัลแพลตฟอร์ม (Digital Learning Platform) นี้จะมีฟังก์ชั่นหลักที่สำคัญ ประกอบไปด้วย ระบบบริหารและจัดการสิทธิ์การใช้งาน ระบบบริหารจัดการหลักสูตร ระบบบริหารจัดการตารางเรียน ระบบบริหารจัดการการสอบ และระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าใช้งาน โดยระบบนี้สามารถใช้งานได้ทั้งอาจารย์ ผู้ช่วยสอน และนักเรียน โดยรูปแบบการเรียนการสอนแบบผสมผสาน (Blended Learning) ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ผ่าน VDO สื่อการสอน ถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์จากอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านในระดับมหาวิทยาลัย อีกทั้งยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกับผู้ช่วยสอน (Teacher Assistant) ได้ขณะฝึกปฏิบัติ ซึ่งเนื้อหาหลักสูตรภายในระบบจะเป็นองค์ความรู้ด้านดิจิทัลเทคโนโลยีที่ปรับให้ทันสมัยตอบโจทย์ความต้องการของภาคอุตสาหกรรมดิจิทัล

แกลลอรี่