"อปท. 4.0 สู่ชุมชนปลอดภัย เพื่อโลกที่พร้อมกว่าเดิม" การประชุมวิชาการประจำปี ระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวของชุมชน - ผ่อดีๆ

21 มกราคม 2565

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

                  ศาสตราจารย์ ดร.นพ.พงษ์รักษ์ ศรีบัณฑิตมงคล รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นประธานเปิดการประชุมวิชาการประจำปี ระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวของชุมชน - ผ่อดีๆ “อปท.4.0 สู่ชุมชนปลอดภัย เพื่อโลกที่พร้อมกว่าเดิม “ โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เลิศรัก ศรีกิจการผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหารและบุคลากรในสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เข้าร่วมการประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการใช้ประโยชน์จากระบบผ่อดีดี พัฒนาและส่งเสริมให้เข้มแข็งด้วยเครื่องมือดิจิทัล สำหรับใช้เป็นเครื่องมือในการสร้างฐานข้อมูลขนาดใหญ่ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อชุมชน และประโยชน์ทางวิชาการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว อันเป็นภัยคุกคามต่อมนุษย์ สัตว์และสิ่งแวดล้อม จัดขึ้นระหว่างวันที่ 21-22 มกราคม พ.ศ. 2565 ณ ห้องประชุมธาราทอง บอลรูม โรงแรมฮอลิเดย์อินน์


                ผ่อดีดี เป็นระบบปฏิบัติการและโปรแกรมดิจิทัลสำหรับเฝ้าระวังและจัดการโรค/ภัยพิบัติ ที่ชุมชนใช้งานและร่วมเป็นเจ้าของ ทำงานภายใต้ความร่วมมือของรัฐ เอกชน และชุมชน ผ่านการดำเนินการของศูนย์ปฏิบัติการสุขภาพหนึ่งเดียวระดับตำบล ของอปท. เพื่อมุ่งหวังให้ อปท. มีเครื่องมือตรวจจับเหตุผิดปกติสุขภาพหนึ่งเดียวได้อย่างรวดเร็ว (Early Detection) โดยอาศัยสมาร์ทโฟนรายงาน ประมวลผล และแจ้งข่าวสารอัตโนมัติแบบ real time ทำให้ อปท. จัดการตอบสนองขั้นต้นในการระงับเหตุด้วยต้นเองอย่างรวดเร็ว และได้ผล ตามแผนตอบสนองฉุกเฉินระดับตำบล (Rapid Response) มีผลช่วยสร้างความสามารถในการใช้ประโยชน์เทคโนโลยีดิจิทัลและเสริมสร้างความเข็มแข็งของชุมชนในระดับรากฐาน พร้อมช่วยเสริมประสิทธิผลของระบบเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์ และภัยพิบัติทางสิ่งแวดล้อม เป็นประโยชน์โดยตรงต่อการทำงานของภาครัฐ สุขภาวะทางสิ่งแวดล้อม อุตสาหกรรมปศุสัตว์ และอุตสาหกรรมอาหาร


ระบบเฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียวพอดีดีได้เริ่มต้นพัฒนา ถือกำเนิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่... ปีพ.ศ. 2557 โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนการดำเนินงานในระยะที่หนึ่งและระยะที่สอง จาก SGTF - Skoll Global Threaths Fund (ปัจจุบันคือ Ending Pandemics Foundation สหรัฐอเมริกา )

               จุดประสงค์ของระยะที่หนึ่ง คือการสร้างพัฒนาเครื่องมือ ดิจิทัล ระบบงานระบาดวิทยา และระบบงานสนับสนุนการเฝ้าระวัง. และทดลองติดตั้งใช้งานใน อปท. นำร่อง. สำหรับให้ชุมชนเฝ้าระวังโรคระบาดในคน สัตว์และภัยในสิ่งแวดล้อม. ที่รวมการจัดการระงับเหตุระบาดหรือภัยพิบัติอย่างทันเวลา

              จุดประสงค์ของระยะที่สอง คือการหารูปแบบขยายการใช้งานระบบดิจิทัล ผ่อดีดี เชิงพื้นที่ไปในประเทศ. ทั้งนี้เป้าหมายสำคัญในทางสากลของการสนับสนุนทุนจาก SGTF คือป้องกันมิให้เกิดโรคระบาดจากหมู่บ้านโดยเฉพาะจากสัตว์เข้าไปสู่มนุษย์ จากหมู่บ้านสู่เมือง. แล้วระบาดข้ามทวีป อันเป็นภัยพิบัติต่อชีวิตมนุษย์ และความมั่นคงของมนุษยชาติ ดังที่เคยเกิดมาแล้วเช่น ไข้หวัดสเปน ไข้เลือดออก เอดส์ นิปาห์ ซารส์ ไข้หวัดนก อีโบลา เป็นต้น

              ในทางแนวคิดตั้งต้นต้องการสร้างระบบเฝ้าระวังโรค/ภัยสุขภาพหนึ่งเดียว ที่ชุมชนมีส่วนร่วมเป็นเจ้าของ ใช้ประโยชน์ข้อมูล และระบบโดยตรง. เป็นระบบดิจิตอลที่รวบรวมประมวลผลแจ้งข่าวสารและข้อมูลแบบอัตโนมัติเรียลไทม์ไปยังอปท. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทางสาธารณสุข ปศุสัตว์ และป้องกันภัยได้รับรู้อย่างรวดเร็วพร้อมพร้อมกัน. ทั้งนี้ Dr. Larry และ Dr. Mark Smolinski จากองค์กรผู้ให้ทุนเล่าองค์ประกอบตัดสินใจให้ทุน เพราะเชื่อมั่นความสามารถของชุมชนสาธารณสุขไทย รู้จักและเชื่อมั่นในทีมงานสุขภาพหนึ่งเดียวของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัทโอเพ่นดรีมผู้พัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ว่าจะสามารถสร้างสรรค์ระบบเฝ้าระวัง
แบบมีส่วนร่วมในชุมชนที่สามารถป้องกันความเสียหายทั้งในระดับพื้นที่และในระดับโลกจาก
โรคระบาดใหญ่ข้ามทวีปได้อย่างเป็นผล

               ในการประชุม Epihack เพื่อสร้าง Prototype ที่จังหวัดเชียงใหม่ ทีมงานจากคณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เสนอให้ใช้ชื่อระบบดังกล่าวว่าผ่อดีดี ซึ่งเป็นคำพื้นเมืองที่สื่อสารเนื้อหาของระบบที่จะพัฒนาได้ดีขึ้น. จากนั้นจึงตั้งชื่อภาษาอังกฤษ ตาม ว่า PODD ( Participatory Onehealth Disease Detection)
เมื่อสิ้นสุดโครงการระยะที่หนึ่งได้เกิดระบบที่มีผลการพิสูจน์ว่าสามารถทำงานได้จริงอปท. สามารถตรวจจับเหตุผิดปกติโรคระบาดห่าไก่ได้อย่างรวดเร็ว รวมทั้งสามารถใช้แผนฉุกเฉินที่มีในระบบผ่อดีดีเผชิญเหตุควบคุมไม่ให้โรคระบาดแพร่กระจายไปได้สำเร็จ
อย่างรวดเร็ว

              ในระยะที่สองซึ่งสิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2561 ระบบผ่อดีดีได้พัฒนาครอบคลุมประเด็นสุขภาพสำคัญทั้งใน มนุษย์ สัตว์ และสิ่งแวดล้อมเช่นโรคไข้เลือดออกในคน การควบคุมยุงลายในสิ่งแวดล้อม สัตว์กัดและโรคพิษสุนัขบ้า โรคปากและเท้าเปื่อยในสัตว์. และแอพพลิเคชั่นจัดการไฟป่าหมอกควัน. ช่วงปลายของระยะที่สอง การตรวจจับสัญญาณโรคระบาดตามนิยาม. การแจ้งเตือนและประมวลเหตุสงสัยว่าระบาดและกระตุ้นการใช้แผนฉุกเฉิน แบบอัตโนมัติ สามารถทำได้เกือบครบถ้วนสมบูรณ์. รวมทั้งมีการเริ่มต้นพัฒนาระบบดิจิตอลตรวจประเมินอาหารปลอดภัยเพื่อรองรับโครงการดาวผ่อดีดีอันเป็นระบบเฝ้าระวังคุณภาพอาหารปลอดภัย promote ผลผลิตของชุมชน. ซึ่งได้รับอนุมัติงบประมาณสนับสนุนจากสำนักงานดิจิตอลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ


               โครงการผ่อดีดี ได้รับการแต่งตั้งเป็นส่วนงานวิชาการภายในของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว” หรือ (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) เพื่อเป็นศูนย์สารสนเทศบริหารจัดการความรู้และข้อมูลของระบบฯ สร้างองค์ความรู้ในการเฝ้าระวังและควบคุมโรคระบาด/ป้องกันการระบาดใหญ่ข้ามทวีป และป้องกันบรรเทาสาธารณภัยและภัยทางสิ่งแวดล้อมที่เป็นปัญหาสุขภาพหนึ่งเดียว โดยได้แต่งตั้ง รองศาสตราจารย์ ดร.นายสัตวแพทย์เลิศรัก ศรีกิจการ ให้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) ตามคำสั่งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ 2631/2562 ลงวันที่ 28 กันยายน 2562
              สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) ร่วมกับกระทรวงดิจิทัล เพื่อเศรษฐกิจและสังคม (DE) คัดเลือกผลงานด้านซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันรางวัล ASEAN ICT Awards 2017 ในนามตัวแทนประเทศไทยโดย บริษัทโอเพ่นดรีม ได้รับคัดเลือกให้นำผลงานส่งเข้าร่วมแข่งขัน และผ่านเข้ารอบชิงชนะเลิศ เป็น 1 ใน 3 ของโครงการที่ส่งเข้าประกวดทั้งหมดนับร้อยโครงการ จาก 11 ประเทศ ASEAN งานตัดสินและประกาศรางวัลรอบสุดท้ายจัดขึ้นระหว่างวันที่ 29-30 พฤศจิกายน 2560 ที่ประเทศกัมพูชา PODD ได้รับรางวัล Bronze Award ในหมวด Corporate Social Responsibility (CSR) และยังได้รับรางวัลชนะเลิศระดับโลก The Trinity Challenge จาก Trinity College มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์ โดยได้ร่วมเสนอใบสมัครกับบริษัทโอเพ่นดรีม ผู้ร่วมพัฒนาโปรแกรม เฝ้าระวังโรคสัตว์ เพื่อป้องกันมิให้โรคแพร่ระบาดสู่มนุษย์ และโรคอุบัติใหม่ ประกาศผลรางวัลออนไลน์จากเมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2564 เวลา 2 ทุ่มประเทศไทย จากผลงาน 340 ทีม 61 ประเทศทั่วโลก

อ้างอิง : เวปไซต์ศูนย์เฝ้าระวังสุขภาพหนึ่งเดียว (PODD Centre – ศูนย์ผ่อดีดีกลาง) http://www.cmonehealth.org/home
 

แกลลอรี่