โครงการอบรมระยะสั้น “Sociology and Anthropology of Northern Thailand and Upper Mekong – Spring Semester 2022” (USAC programs) กลุ่ม “Highland Ethnic Peoples”

25 กุมภาพันธ์ 2565

คณะสังคมศาสตร์

เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2565 ที่ผ่านมา รองศาสตราจารย์ ดร.วสันต์ ปัญญาแก้ว หัวหน้าภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา นำนักศึกษาจากโครงการอบรมระยะสั้น “Sociology and Anthropology of Northern Thailand and Upper Mekong – Spring Semester 2022” (USAC programs) กลุ่ม “Highland Ethnic Peoples” ภายใต้ CMU School of Lifelong Education เยี่ยมชมและศึกษาเรียนรู้ “ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่” และ “บ้านม้งแม่สาใหม่” ตำบลโป่งแยง อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
.
“ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่” ได้ก่อตั้งขึ้นราวปี พ.ศ.2517 และได้นำเข้าพืชผลเมืองหนาว โดยเฉพาะ ลิ้นจี่ ให้ชาติพันธุ์ชาวม้งปลูกแทนฝิ่น โดยในช่วงแรก ๆ ชาวบ้านยังไม่มั่นใจในผลผลิตและรายได้ทางเศรษฐกิจ จนกระทั่ง ลิ้นจี่ กลายมาเป็นพืชเศรษฐกิจหลักในพื้นที่ ชาวบ้านจึงเริ่มปลูกลิ้นจี่แทนฝิ่นมากขึ้น และราว พ.ศ.2525 ก็เลิกปลูกฝิ่นกันถาวร พร้อมกันนี้ ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงแม่สาใหม่ ได้นำเข้าพืชผลเมืองหนาวชนิดอื่น ๆ เข้ามาทดลองและปรับแต่งพันธุ์เพื่อให้เจริญเติมโตและสามารถสร้างผลผลิตทางเกษตรได้ในพื้นที่ ก่อนที่จะนำไปเผยแพร่และส่งเสริมให้ชาวบ้านปลูก พร้อมทั้งรับซื้อผลผลิตจากชาวบ้านตามพันธะสัญญา ตัวอย่างพืชผลที่สำคัญ เช่น มันฝรั่ง สตรอว์เบอร์รี อโวคาโด และล่าสุดพริกเม็กซิกัน ปัจจุบัน ชาวม้งบ้านแม่สาใหม่ (ไม่รวมแม่สาน้อย) มีอยู่ราว 400 กว่าครัวเรือน ประชากรราว ๆ 2000 กว่าคน ส่วนมากมีรายได้จาก “สวนเกษตร” หรือในชาวบ้านที่มีทำกิจไม่มาก จะทำอาชีพโดย “การปลูกพืชหมุนเวียน” โดยช่วงราว พ.ศ.2550 ธุรกิจโฮมสเตย์ และการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือ การท่องเที่ยวเชิงนิเวศ (Ecotourism) กระจายอยู่ในพื้นที่อำเภอแม่ริม เป็นวงกว้าง และชาวบ้านในพื้นที่บ้านแม่สาใหม่ก็เริ่มหันมาทำธุรกิจโฮมสเตย์มากขึ้น ควบคู่ไปกับการทำการเกษตรเดิม
แกลลอรี่