อาจารย์ผู้ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)

18 เมษายน 2566

คณะสัตวแพทยศาสตร์

คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ผู้ได้รับการสนับสนุนทุนอุดหนุนการวิจัยและนวัตกรรม ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปี 2566 จาก สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ดังรายนามต่อไปนี้

  1. อ.สพ.ญ.ดร.ภัคนุช บันสิทธิ์
    อาจารย์สังกัดภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
    โครงการวิจัย เรื่อง การประเมินสถานะทางสวัสดิภาพของช้างในปางช้างเพื่อการท่องเที่ยวในประเทศไทย (Assessment of the Welfare Status of Tourist Camp Elephants in Thailand)
  2. อ.น.สพ.ดร.อัมรินทร์ ฤทธิพรเลิศรักษ์
    อาจารย์สังกัดภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค
    โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาไลโปโซมชนิดประจุบวกที่มีโปรตีนลูกผสม outer membrane protein H เพื่อเป็นวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซพติซีเมีย (Development of cationic liposomes containing recombinant outer membrane protein H for hemorrhagic septicemia vaccine)
  3. อ.สพ.ญ.ดร.นิศาชล อภิญดา
    อาจารย์สังกัดภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค
    โครงการวิจัย เรื่อง การพัฒนาเทคนิค Oxford Nanopore สำหรับการตรวจหาลำดับสายพันธุกรรมทั้งหมดของเชื้อไวรัสกาฬโรคเป็ดและคุณลักษณะความหลากหลายทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัสกาฬโรคเป็ดในพื้นที่ประเทศไทย (Developing platform for whole genome sequencing and molecular characterization of duck plague virus from Thailand using Oxford Nanopore Technique.)
  4. อ.น.สพ.ดร.พร้อมพร พิบูลย์
    อาจารย์สังกัดภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข
    โครงการวิจัย เรื่อง ความหลากหลายทางพันธุกรรมของซีเทเชียนสามสปีชีส์ที่อาศัยอยู่ในแหล่งเดียวกันในทะเลของประเทศไทย (The Genetic Variation of Three Sympatric Cetacean Species ( Stenella spp.) in Thai Territorial Waters)
  5. อ.ดร.ชนาพร สุทธินันท์
    อาจารย์สังกัดภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข
    โครงการวิจัย เรื่อง การศึกษาแมลงชีปะขาวเข็ม (Baetidae) ในประเทศไทย เพื่อวิเคราะห์การแพร่กระจายของแมลงน้ำระหว่างแผ่นดินใหญ่และหมู่เกาะซุนดา (Thailand: just a hallway for aquatic insects between continental Asia and Sunda islands? A case study in Baetid mayflies (Baetidae))
แกลลอรี่