พิธีเปิดรูปปั้นมหาตมะคานธี (Unveiling of Mahatma Gandhi Statue Ceremony)

21 กุมภาพันธ์ 2567

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

           ศูนย์อินเดียศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับสถานทูตอินเดียประจำประเทศไทย จัดพิธีเปิดรูปปั้นมหาตมะคานธี (Unveiling of Mahatma Gandhi Statue Ceremony) โดยมี Mr. Krishna Chaithanya กงสุลอินเดียประจำจังหวัดเชียงใหม่ ศาสตราจารย์ปฏิบัติ ดร.เอกชัย มหาเอก รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และรองศาสตราจารย์ ดร.พฤดี หงุ่ยตระกูล ผู้อำนวยการศูนย์อินเดียศึกษา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกดปุ่มเปิดผ้าแพรรูปปั้น เพื่อเป็นอนุสรณ์สถานในการรำลึกถึงนายโมหัสทาส กรัมจันท์ คานธี หรือ มหาตมะ คานธี มหาบุรุษแห่งอินเดีย ตลอดจนคุณความดีทางปรัญชา เศรษฐกิจและการเมืองการปกครอง และบทบาทของท่านในการนำพาอินเดียไปสู่อิสรภาพจากการปกครองของสหราชอาณาจักร พร้อมด้วยคณะผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ ตลอดจนประชาชนและสื่อมวลชนร่วมพิธีเปิด ณ ลานจามจุรี คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันพุธที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567

             Mr. Krishna Chaitanya กงสุลอินเดียประจำเชียงใหม่ กล่าวว่า “การเปิดรูปปั้นมหาตมะ คานธี ในวันนี้นับเป็นช่วงเวลาแห่งประวัติศาสตร์โดยแท้จริง ที่เราได้มาร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีเปิดรูปปั้นมหาตมะ คานธี หนึ่งในบุคคลสำคัญผู้ยิ่งใหญ่ในโลกยุคปัจจุบัน ณ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งนับเป็นแห่งที่สองของประเทศไทย ถัดจากมหาวิทยาลัยรังสิต โดยรูปปั้นนี้จะเป็นอีกสถานที่เชิงสัญลักษณ์ของเมืองเชียงใหม่อีกแห่งหนึ่ง เหตุเพราะท่านเป็นนักต่อสู้เพื่ออิสรภาพของอินเดียไปสู่การเคลื่อนไหวของมวลมหาประชาชนในแบบวิธีอหิงสา- บางสิ่งที่โลกไม่เคยรับรู้ เพื่อปลดปล่อยอินเดียให้เป็นอิสระจาก ‘ผู้ค้ายาเสพติดรายใหญ่ที่โลกพบเห็น’ ซึ่งพันธนาการและส่งผลให้อินเดียประสบกับความทุกข์ยากลำบากด้วย ‘ไฟและคมดาบ’ นับตั้งแต่สมัยศตวรรษที่ 18 ทำให้ประชาชนยากจนข้นแค้น ทำลายรากแห่งวัฒนธรรมและด้อยค่าด้านจิตวิญญาณ เหล่านี้ด้วยวิธีอหิงสาที่จะต่อต้านต่อความอยุติธรรมและ เผด็จการ ให้ยังคงเป็นแรงบันดาลใจให้ผู้คนประชาชนในโลกรวมถึงในภูมิภาคนี้ แต่ท่านมหาตมะ คานธี ผู้ที่ได้รับสมญานามเรียกขาน ที่มีนัยสำคัญยิ่งใหญ่ อาทิ เป็นผู้นำด้านศีลธรรมและจริยธรรม ด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านรัฐศาสตร์ และด้านระบบนิเวศน์ และในบทวิจารณ์อันทรงพลังของท่านเกี่ยวกับการใช้ธรรมชาติอย่างสิ้นเปลือง จนกลายเป็นแบบดำรงชีวิตที่สิ้นเปลืองแหล่งทรัพยากรของเรา บทวิจารณ์นี้ส่งผลมาถึงเราในทุกวันนี้ ซึ่งหากเราต้องการที่จะรักษาโลกของเราอย่างแท้จริงให้ยั่งยืนต่อไปสู่ลูกหลานในอนาคต ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่ารูปปั้นของท่านมหาตมะ คานธีนี้ จะช่วยสร้างสรรค์ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้คนทั้งในและนอกวิทยาเขตที่เคารพแห่งนี้ ในการที่จะค้นหา และพบวิถีทางที่จะอยู่ร่วมกันในช่วงเวลาที่ท้าทาย สร้างสันติสุข พี่น้องสมานฉันท์ที่แข็งแกร่ง และเป็นหลักประกันความเป็นอยู่ที่ยั่งยืน ซึ่งลำดับสุดท้ายนี้ ดังปรากฏในปณิธาณของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ด้วย”
 

แกลลอรี่