ปัจฉิมนิเทศ โครงการจ้างงานประชาชนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

23 กันยายน 2563

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

การปัจฉิมนิเทศ โครงการจ้างงานประชาชนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ วันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2563 | เวลา 09.00 - 12.00 น. ณ ห้องประชุม 201 สำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ (ITSC) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings  และ Facebook Live หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่


สืบเนื่องจาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับอนุมัติเป็นหน่วยงานจ้างงาน ภายใต้โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก สถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ระยะที่ 2 ตามประกาศกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้รับการอนุมัติอัตราจ้างงานผู้ได้รับผลกระทบ จำนวน 2,963 อัตรา ระยะปฏิบัติงาน 3 เดือน ตั้งแต่เดือน กรกฎาคม -กันยายน 2563 งบประมาณจำนวน 80,001,000 บาท


โดยทางโครงการจ้างงานประชาชนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีผู้รับผิดชอบโครงการ/พี่เลี้ยง ที่เป็นนักวิชาการมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 133 ราย ดูแลโครงการทั้งหมดจำนวน 333 โครงการ ซึ่งมีภาคี/เครือข่าย มาร่วมจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้ผู้รับการจ้างงานทั้ง 2,963 คน ลักษณะงานครอบคลุมงานเก็บข้อมูลของชุมชนตามวัตถุประสงค์หลักของโครงการ งานบริการวิชาการในชุมชน งานในบทบาท Research assistant ในชุมชน งานในฐานะผู้ช่วยสอน ตลอดจน การพัฒนาศักยภาพด้าน Start up โดย การดำเนินงานจะเสร็จสิ้นในวันที่ 30 กันยายน 2563 นี้


ดังนั้น คณะทำงานฯ จึงได้มีการปัจฉิมนิเทศ เมื่อวันอังคาร ที่ 22 กันยายน 2563 เวลา 09.00 – 12.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักบริการเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ช่องทางออนไลน์ผ่านระบบ Zoom Cloud Meetings และ Facebook Live หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เพื่อเป็นการสรุปยอดองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์ ด้านศักยภาพที่ได้รับการพัฒนา จากการปฏิบัติงานปฏิบัติงานภายใต้โครงการจ้างงานฯ ของกระทรวง อว. ตลอดเวลาการจ้างงานของผู้รับจ้างงานในแต่ละโครงการย่อย และเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการต่อยอดและพัฒนาการจัดทำข้อเสนอโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย


นอกจากนี้แล้ว ยังได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร. ศุภชัย ปทุมนากุล รองปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้กล่าวปาฐกถาพิเศษ เรื่อง “บทบาทของมหาวิทยาลัยในการนำพลังปัญญาพัฒนาชาติ” ตลอดจนการชี้แจงแนวทางของโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อเชิญชวนผู้ที่รับจ้างงานในการปฏิบัติงานต่อเนื่อง หลังจากจบโครงการจ้างงานประชาชนฯ มช. นี้


ภายในงานประกอบไปด้วย หัวข้อการแลกเปลี่ยนจากตัวแทนพี่เลี้ยงโครงการในหัวข้อ “กระบวนการสร้างการเรียนรู้ของผู้รับผิดชอบโครงการ” โดยมีตัวแทนพี่เลี้ยง/ ผู้รับผิดชอบโครงการ ดังนี้

อาจารย์ ดร. ไพรัช พิบูลย์รุ่งโรจน์ (รองคณบดี คณะเศรษฐศาสตร์ หัวหน้าโครงการโครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 คณะเศรษฐศาสตร์) ผศ. ดร. เกษมศักดิ์ อุทัยชนะ (รองผู้อำนวยการอุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 : STEP) นายนันทิวัฒน์ ศรีคาน (สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 6 โครงการเพิ่มศักยภาพทักษะอาชีพทางการเกษตรผ่านศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)) นายพิรุญ กองแปง (ผู้รับผิดชอบ โครงการ “แผนแก้ไขปัญหาฝุ่นควัน pm 2.5 และสำรวจข้อมูลผู้ได้รับผลกระทบ COVID-19 จังหวัดเชียงใหม่”) นางสาวนุจิรัตน์ ปิวคำ (ผู้รับผิดชอบ โครงการจัดทำข้อมูลและแผนบูรณาการของ อปท. เพื่อการแก้ไขปัญหาไฟป่า ฝุ่นควันอย่างยั่งยืน ในจังหวัดเชียงใหม่) และ นางสาวกมลรัตน์ บุญอาจ (ผู้รับผิดชอบ โครงการพัฒนาศูนย์วิจัยนวตกรรมชุมชนเพื่อยกระดับและขยายผลการจัดการงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นประเด็นการจัดการท่องเที่ยวโดยชุมชนภาคเหนือตอนล่าง)


และผู้รับจ้างงานได้เข้าร่วมแลกเปลี่ยน ในหัวข้อ “ศักยภาพที่ได้รับการพัฒนาและบทเรียน” มีตัวแทน ดังนี้
นางสาวปรียารัตน์ อธิกคีรีพงศ์ (ผู้รับจ้างงาน โครงการจ้างงานประชาชนที่ได้รับผลกระทบจาก COVID-19 : STEP) นายวัฒนา กันทาทรัพย์ (ผู้รับจ้างงาน โครงการเพิ่มศักยภาพทักษะอาชีพทางการเกษตรผ่านศูนย์บ่มเพาะเกษตรกรรุ่นใหม่ (Young Smart Farmer)) นางสาวธัญชนก เตชุกร (ผู้รับจ้างงาน โครงการจ้างงานประชาชนฯ มช. คณะเศรษฐศาสตร์) นายศุภณัฐ กองทรัพย์เจริญ (ผู้รับจ้างงาน โครงการจัดทำข้อมูลและแผนบูรณาการของ อปท. เพื่อการแก้ไขปัญหา ไฟป่า ฝุ่นควันอย่างยั่งยืน ในจังหวัดเชียงใหม่)  นางสาวธันย์ชนก เรืองอินตา (ผู้รับจ้างงาน โครงการการพัฒนาชุมชน โดยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น จังหวัดน่าน) นางสาวณิชกานต์ พิทยาภรณ์ (ผู้รับจ้างงงาน โครงการการจ้างงานนักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด และนักกิจกรรมบำบัด ที่จบใหม่แต่ยังไม่ได้งาน เพื่อช่วยส่งเสริม ดูแลฟื้นฟูสุขภาพคนในชุมชน เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาล (จังหวัดเชียงใหม่)) นายนภดล พอใจ (ผู้รับจ้างงาน โครงการศูนย์พหุวัฒนธรรม คณะศึกษาศาสตร์) นายรัฐกรณ์ ทาศรี และ นางสาววรรณนภา เพ็งภาค (ผู้รับจ้างงาน โครงการเพิ่มศักยภาพและประเมินผลผู้รับการจ้างงาน)

นอกจากนี้ ยังได้มีการแลกเปลี่ยนในหัวข้อ “การพัฒนาข้อเสนอโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย” เพื่อเชิญชวน และสนับสนุนการจัดทำข้อเสนอโครงการ ที่จะเป็นแนวทางในการจ้างงานต่อไป ในลักษณะ การทำงานกับท้องถิ่นในชุมชน โดยมีตัวแทนของผู้มาแลกเปลี่ยนในหัวข้อนี้ ดังนี้
นางภาสิมา พิงคะสัน (ผู้ประสานงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย: ตำบลมะเขือแจ้ จังหวัดลำพูน) นางสาวศิริพร นิลแก้ว (ผู้ประสานงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย: ตำบลอุโมงค์ อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน) นายสิริพล เพ็งโฉม: มีรักฟาร์ม (ผู้ประสานงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย: ตำบลห้วยทราย อำเภอสันกำแพง จังหวัดเชียงใหม่) และ นางสาวจิราวรรณ ไชยกอ (ผู้ประสานงานโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย: ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่)

ท้ายที่สุดแล้ว ทางหน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า โครงการจ้างงานประชาชนฯ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดำเนินการมาตลอดระยะเวลา 3 เดือน จะช่วยเสริมสร้างองค์ความรู้ และประสบการณ์ ให้กับผู้รับจ้างงาน และผู้รับผิดชอบโครงการ ตลอดจนสามารถต่อยอดต่อการทำงานในอนาคต และยังขอเชิญชวนให้มีการสนับสนุนการพัฒนาข้อเสนอโครงการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย เพื่อต่อยอดโครงการสู่ชุมชนต่อไป.

ข้อมูลโดย : หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่