นักคณิตศาสตร์ คณะวิทย์ มช. ร่วมทีม ม.พะเยา พัฒนาขั้นตอนวิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด เพื่อประยุกต์ใช้กับการวินิจฉัยโรคเบาหวานผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง

13 ธันวาคม 2566

คณะวิทยาศาสตร์

          ดร.รวีโรจน์ ศุภรตุลธร นักวิจัยยุทธศาสตร์เชิงรุก สำนักงานบริหารงานวิจัย ปฏิบัติงาน ณ ภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ ดร.วัชรภรณ์ ช่อลำเจียก อาจารย์ประจำสาขาวิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา พัฒนาขั้นตอนวิธีการหาค่าที่เหมาะสมที่สุด เพื่อประยุกต์ใช้กับการวินิจฉัยโรคเบาหวานผ่านการเรียนรู้ของเครื่อง ภายใต้งานวิจัย หัวข้อ Strong convergence of a modified extragradient algorithm to solve pseudomonotone equilibrium and application to classification of diabetes mellitus

ในการวิเคราะห์ข้อมูล ผู้วิจัยใช้การเรียนรู้ของเครื่องประเภท extreme learning machine (ELM) [Huang, G. B., Zhu, Q. Y., and Siew, C. K. (2006). Extreme learning machine: theory and applications. Neurocomputing, 70(1-3), 489-501.] โดยผู้วิจัยสร้าง optimizer แบบใหม่ให้กับวิธีดังกล่าวแทน optimizer แบบเดิม และในขั้นตรวจสอบประสิทธิภาพ ผู้วิจัยวิเคราะห์จากค่า accuracy, precision, recall และ F1-score

ผลจากการวิจัยทำให้ทราบว่า ลำดับที่สร้างโดยขั้นตอนวิธีที่ปรับปรุงมาจาก subgradient extragradient algorithm จะลู่เข้าอย่างเข้มสู่คำตอบของปัญหา pseudomonotone equilibrium ซึ่งผลลัพธ์ดังกล่าวสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคเบาหวานได้ผ่านการเรียนรู้ของเครื่องประเภท extreme learning machine (ELM)

ขั้นตอนวิธีที่ได้รับการพัฒนานี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวินิจฉัยโรคอื่นได้ และยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในกับปัญหาด้านการจำแนกประเภทข้อมูล (data classification) อื่นได้ เช่น ด้านการศึกษา และ ด้านวิศวกรรม เป็นต้น

ผลงานได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสาร Chaos, Solitons & Fractals
Volume 168, March 2023
https://doi.org/10.1016/j.chaos.2023.113108
แกลลอรี่