การเฝ้าสังเกตถึงการอุบัติของเชื้อราที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือ “เชื้อดื้อยา” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันกำจัดโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ

3 กุมภาพันธ์ 2565

คณะเกษตรศาสตร์

การเฝ้าสังเกตถึงการอุบัติของเชื้อราที่ต้านทานต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือ “เชื้อดื้อยา” มีความสำคัญอย่างยิ่งในการป้องกันกำจัดโรคพืชได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งเชื้อที่ดื้อยานี้ถือเป็นภัยเงียบที่แฝงอยู่ในแปลงหรือในสวนโดยเกษตรกรอาจไม่ทราบ และกว่าจะรู้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญก็ต่อเมื่อได้ใช้สารป้องกันกำจัดเชื้อราชนิดนั้นควบคุมโรคไม่ได้ ถึงแม้จะฉีดพ่นสารด้วยความเข้มข้นที่มากขึ้น ก็ไม่ได้ช่วยแก้ปัญหานี้ ในทางตรงกันข้ามยิ่งเป็นการเพิ่มมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม ส่งผลต่อสุขภาพของเกษตรกรและผู้บริโภค
ดังนั้นการประเมินการดื้อต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรานั้น จึงมีความสำคัญที่จะนำข้อมูลมาใช้ในการออกแบบการเลือกสารป้องกันกำจัดเชื้อราได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม อย่างไรก็ตามในการประเมินการดื้อต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา azoxystrobin ที่อยู่ในกลุ่ม quinone outsite inhibitors (QoI) ด้วยการทดสอบการยับยั้งการเจริญของเส้นใยของเชื้อรานั้น มีความพิเศษกว่าสารป้องกันกำจัดเชื้อราอื่นๆ โดยต้องมีการเติมสาร salicyl hydroxamic acid (SHAM) ร่วมในการทดสอบ นอกจากนี้ความจำเป็นในการใช้สาร SHAM ร่วมในการทดสอบ และความเข้มข้นที่ใช้นั้น มีความแตกต่างกันในเชื้อราแต่ละชนิด งานวิจัยนี้จึงได้ทดสอบเพื่อหาวิธีการที่เหมาะสมในการประเมินเชื้อดื้อต่อสารป้องกันกำจัดเชื้อรา azoxystrobin ในเชื้อ สาเหตุโรคใบไหม้ (late blight) ของมันฝรั่ง และได้รายงานถึงสถานการณ์เชื้อที่ดื้อต่อสาร azoxystrobin ในพื้นที่ จ.เชียงราย และ จ.เชียงใหม่

ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Agricultural Technology
ติดตามอ่านเพิ่มเติมได้ที่ http://www.ijat-aatsea.com/.../19_IJAT_17(4)_2021...
#คณะเกษตรศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#ภาควิชากีฏวิทยาและโรคพืช
#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUBGCmodel #CMUSDGs #CMUSDG1 #CMUSDG2 #CMUSDG3 #CMUSDG12

แกลลอรี่