นักคณิตศาสตร์ มช. ร่วมพัฒนาระบบสำหรับวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

12 มกราคม 2565

คณะวิทยาศาสตร์

    ผศ.ดร.หทัยรัตน์ ยิ่งทวีสิทธิกุล อาจารย์จากภาควิชาคณิตศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  ร่วมกับคณะนักวิจัยจาก Genome Institute of Singapore และ Singapore General Hospital พัฒนาระบบสำหรับวิเคราะห์ลักษณะทางพันธุกรรมและติดตามการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS-CoV-2

การแพร่ระบาดในโรงพยาบาลของไวรัสโคโรนา 2019 มีความสำคัญต่อความปลอดภัยของผู้ป่วย โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิคุ้มกันต่ำและเสี่ยงต่ออาการรุนแรง เนื่องจากห้องปฏิบัติการในโรงพยาบาลขาดแคลนนักชีวสารสนเทศ ทีมนักวิจัยได้พัฒนาเว็บแอปพลิเคชันสำหรับโรงพยาบาล โดยเมื่อพบผู้ติดเชื้อจะสามารถวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมของทั้งจีโนม (Whole genome sequencing) และติดตามการแพร่ระบาดได้อย่างแม่นยำภายใน 1 วัน ทำให้โรงพยาบาลสามารถป้องกันและตัดวงจรการแพร่ระบาดได้ทันการณ์

ผู้ที่สนใจ สามารถทดลองใช้เว็บแอปพลิเคชันนี้ได้ผ่านทางเว็บไซต์ https://calmbelt-demo.mtms.dev

โดยการพัฒนาดังกล่าว เป็นการบูรณาการและเป็นหนึ่งในโครงการสร้างสรรค์นวัตกรรม ประจำปีงบประมาณ 2563 สนับสนุนโดยโครงการจัดตั้งศูนย์วิจัยวิทยาการข้อมูล คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งได้มีการทดลองใช้จริง และได้รับการตีพิมพ์ผลงานในวารสารวิชาการ Frontiers in Medicine ซึ่งอยู่ใน Q1 (ISI) with impact factor 5.091

อ้างอิง
Yingtaweesittikul, H., Ko, K., Rahman, N. A., Tan, S. Y. L., Nagarajan, N., & Suphavilai, C. (2021). CalmBelt: rapid SARS-CoV-2 genome characterisation for outbreak tracking. Frontiers in medicine, 2600.

ข้อมูลเพิ่มเติม
บทความ : เมื่อไวรัสกลายพันธุ์ : วิทยาศาสตร์อธิบายอะไรได้บ้าง
ในซีรีส์ Science in Crisis มีการศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์โอไมครอน โดยอาศัยเว็บแอปลิเคชัน CalmBelt

บทความวิจัย
Frontiers | CalmBelt: Rapid SARS-CoV-2 Genome Characterization for Outbreak Tracking | Medicine (frontiersin.org)

แกลลอรี่