ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Inhibitory effects on bovine babesial infection by iron chelator, 1-(N-acetyl-6-aminohexyl)-3-hydroxy-2-methylpyridin-4-one (CM1), and antimalarial drugs ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Parasitology (Published : 20 October 2023)

10 พฤศจิกายน 2566

คณะสัตวแพทยศาสตร์

หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Inhibitory effects on bovine babesial infection by iron chelator, 1-(N-acetyl-6-aminohexyl)-3-hydroxy-2-methylpyridin-4-one (CM1), and antimalarial drugs ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Veterinary Parasitology (Published : 20 October 2023) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 1 สาขา Veterinary Science (Journal Impact factor 2.6), SJR Quartile 1, Scopus Quartile 1

แผนการขับเคลื่อนการพัฒนาที่ยั่งยืน เป้าหมายที่ 3 (Sustainble Development Goal 3) : Good Health and Well-being สร้างหลักประกันการมีสุขภาวะที่ดี และส่งเสริมความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับทุกคน ในทุกช่วงวัย

สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://authors.elsevier.com/c/1i1aR15DeCaOm7

งานวิจัยเรื่อง Inhibitory effects on bovine babesial infection by iron chelator, 1-(N-acetyl-6-aminohexyl)-3-hydroxy-2-methylpyridin-4-one (CM1), and antimalarial drugs เป็นการศึกษาการออกฤทธิ์ทางชีวภาพในระดับห้องปฏิบัติการ (in vitro) ของยาขับเหล็ก (iron chelator, 1-(N-acetyl-6-aminohexyl)-3-hydroxy-2-methylpyridin-4-one (CM1)) และยาต้านมาลาเรียชนิดต่าง ๆ 5 ชนิด คือ pyrimethamine, chloroquine, dihydroarthemisinine, primaquine และ artefenomel ต่อเชื้อ Babesia Bovis ทั้งในรูปแบบการให้ยาแบบเดี่ยว (Single drug) และการให้ยาแบบร่วม (drug combination) โดยผลการศึกษาพบว่ายาทั้งหมดที่ทดสอบไม่มีความเป็นพิษต่อเซลล์ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและมีประสิทธิภาพในการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อ B. bovis ได้อย่างปลอดภัย ทั้ง 2 รูปแบบการให้ยา สามารถใช้เป็นทางเลือกในการรักษาการติดเชื้อบาบีเซียในวัวได้ นอกจากนี้ยังสามารถใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาและการค้นหายาใหม่สำหรับการรักษาการติดเชื้อ B. bovis ต่อไปได้ในอนาคต
แกลลอรี่