อาจารย์ นักวิจัย มช. รับทุนวิจัย 32 ทุน เป็นอันดับ 1 ของประเทศ จาก สกว.

8 มีนาคม 2562

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์


สำนักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัย (สกว.) ได้ประกาศผลการพิจารณาจัดสรรทุนประเภท ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ และทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ ประจำปี 2562 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้รับการสนับสนุนทุนเป็นอันดับ 1 ของประเทศ รวมทั้งสิ้น 32 ทุน แบ่งเป็นทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ จำนวน 31 ทุน และ ทุนพัฒนานักวิจัยรุ่นใหม่ จำนวน 1 ทุน จากจำนวนผู้สมัครทั้งหมด 904 ราย แบ่งผู้รับทุนเป็นรายสาขาได้ดังนี้

1.      สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 14 ราย

2.     สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 15 ราย

3.     สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ จำนวน 3 ราย

 

ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของอาจารย์รุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2562  จำนวน 31 คน

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ จำนวน 13 ราย

1.      ดร. ขวัญหทัย แก้วปู่วัด ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์  โครงการ “การประเมินเภสัชจลนศาสตร์ของยาไอทราโคนาโซลในรูปแบบแคปซูลเมื่อได้รับยาร่วมหรือไม่ร่วมกับยาเอฟฟาไวเรนซ์ในการรักษาเชื้อราทาลาโรมัยโคซิสชนิดลุกลามในผู้ติดเชื้อเอชไอวีผู้ใหญ่”

2.     ผศ.ดร. ปัทมา โกมุทบุตร   ภาควิชาเวชศาสตร์ครอบครัว  คณะแพทยศาสตร์ โครงการ “ผลของ Mindfulness Based Flow Practice (MBFP) ต่อ Brain Derived Neurotrophic factor (BDNF) และ cellular health ในอาการซึมเศร้าและกังวล: การศึกษาแบบ Exploratory cross-over trial

3.     นพ. สินธิป พัฒนะคูหา  ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู  คณะแพทยศาสตร์  โครงการ “ความสัมพันธ์ระหว่างจุลชีพในลำไส้และตัวจับวัดทางเมตาบอลิคในผู้พิการบาดเจ็บไขสันหลัง”

4.     ดร. ชนิศา โทนุสิน  ภาควิชาสรีรวิทยา  คณะแพทยศาสตร์  โครงการ “ผลของความสามารถในการออกกำลังกายต่อน้ำหนักตัว การทำงานของหัวใจ และเมตาบอลิซึม ในหนูอ้วนเทียบกับหนูปกติ และผลของความสามารถในการออกกำลังกายต่อการคงสภาพน้ำหนักตัว การทำงานของหัวใจ และเมตาบอลิซึม หลังสิ้นสุดการลดน้ำหนักตัวได้สำเร็จด้วยการควบคุมอาหารและการออกกำลังกายในหนูอ้วน”

5.     ดร. ภูดิศ เจต๊ะวรรณ  ภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โครงการ “การศึกษาเปรียบเทียบระดับ Nontransferrin bound iron (NTBI)ในเลือดและการทำงานของหัวใจทารกในครรภ์ที่เป็นโรคธาลัสซีเมียบาร์ทกับทารกที่ไม่เป็นโรค”

6.     ผศ.ดร. วุฒิไกร นิ่มละมูล   ภาควิชาเภสัชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โครงการ “การศึกษาฤทธิ์ของสารโพลีเมทอกซีฟลาโวน ที่สกัดจาก Kaempferia parviflora ในการยับยั้งการสร้างและหน้าที่ของอินเตอร์ลิวคินหกที่ทำหน้าที่กระตุ้นการพัฒนาของเซลล์มะเร็งปากมดลูก”

7.     ผศ.ดร. รังษินี พงษ์ประดิษฐ  ภาควิชาวิทยาศาสตร์เภสัชกรรม  คณะเภสัชศาสตร์  โครงการ “ระบบนำส่งยาผ่านเยื่อบุจมูก เปปไทด์ KLVFF คอนจูเกตไมโครอิมัลชันที่กักเก็บเคอร์คิวมิน ที่ออกฤทธิ์สองกลไก สำหรับการรักษาโรคอัลไซเมอร์”

8.     ดร. กฤช ใจคุ้มเก่า  ภาควิชารังสีเทคนิค  คณะเทคนิคการแพทย์  โครงการ “ผลของยายับยั้งการทำงานของโปรตีนขนส่งโซเดียมและกลูโคสชนิดที่ 2, ดาพากลิโฟลซิน, ในการบรรเทาการบาดเจ็บของไต โดยผ่านการปรับกระบวนการ autophagy ในเนื้อเยื่อไต และลดการบาดเจ็บของตับอ่อน ในภาวะก่อนเป็นเบาหวานในหนูขาว”

9.     ผศ.ดร. จินตนา ยาโนละ ภาควิชาเทคนิคการแพทย์  คณะเทคนิคการแพทย์  โครงการ “ไซโตโครม พี450 ซึ่งเกี่ยวข้องกับกลไกการต้านทานด้านแมทาบอลิกในยุงรำคาญ Culex quinquefasciatus ที่ต้านทานต่อสารกำจัดแมลงเดลต้าเมทริน”

10.  ผศ.ดร. ศิริวรรณ ตั้งยืนยง ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า  คณะสัตวแพทยศาสตร์ โครงการ “การสร้างเนื้อเยื่อกระดูกอ่อนช้างนอกร่างกาย”

11.   สพ.ญ.ดร. คคนางค์ ปิยะรังษี   ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า  คณะสัตวแพทยศาสตร์  โครงการ “การแสดงออกของตระกูลบีซีแอลทู และทรานส์ฟอร์มิงโกรทแฟกเตอร์เบต้า ในเซลล์ไตแมวที่ถูกเหนี่ยวนำด้วยดอกโซรูบิซินและแมวป่วยโรคไตเรื้อรังที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ”

12.   ดร.น.สพ. วันพิทักษ์ ป้องกัน ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข  คณะสัตวแพทยศาสตร์  โครงการ “ผลของอาหารไขมันสูงต่อการทำงานของหัวใจในหนูชนิดไม่อ้วนที่มีภาวะเบาหวานชนิดที่สอง”  

13.  ดร. อักษรา ทองประชุม  ภาควิชาสาธารณสุขศาสตร์ คณะสาธารณสุขศาสตร์ โครงการ “ความชุกและความหลากหลายทางพันธุกรรมของการติดเชื้อเอนเทอโรไวรัสที่ก่อโรคมือเท้าปากในเด็ก”

 

สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จำนวน 15 ราย

1.      ดร. กรรณิกา แซ่ลิ่ว  ภาควิชาพัฒนาเศรษฐกิจการเกษตร  คณะเกษตรศาสตร์  โครงการ "แนวทางการพัฒนาอาหารท้องถิ่นและอาหารที่เป็นของฝากสำหรับนักท่องเที่ยวชาวจีน"

2.     ดร. พงศกร ศุภกิจไพศาล  ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์  คณะเกษตรศาสตร์ โครงการ “ผลกระทบจากระยะเวลาในการสัมผัสพื้นที่สีเขียวต่อการคลายเครียดและการฟื้นฟูสมาธิในวัฒนธรรมต่างๆ”

3.     ดร.อรวิชย์   ถิ่นนุกูล  ภาควิชาการจัดการสมัยใหม่และเทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาลัยศิลปะ สื่อ และเทคโนโลยี  โครงการ “การศึกษาและพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อการคัดแยกอาการป่วยแบบชาญฉลาดตามแนวทางมาตรฐาน Thai criteria based dispatch

4.     ดร. ศุภณัฐ ชัยดี ภาควิชาคณิตศาสตร์  คณะวิทยาศาสตร์ โครงการ “แผนภาพลาแกร์โวโรนอยบนทรงกลมแบบมัธยฐานสำหรับการศึกษาและจำลองเทสเซลเลชันบนทรงกลม”

5.     ดร. วรรณศิริ วรรณสิทธิ์ ภาควิชาคณิตศาสตร์   คณะวิทยาศาสตร์   โครงการ “ไซคลิคดีคอมโพสิชันของกราฟบริบูรณ์ทั่วไปสู่กราฟพีเตอร์เซนทั่วไปแบบสองส่วน”

6.     ดร. อภินันท์ กันเปียงใจ ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ โครงการ “การประเมินคุณสมบัติความเป็นโพรไบโอติกและการผลิตเซลล์ยีสต์ที่มีชีวิตร่วมกับกรดกาล์ลิกจากแทนนินโดยยีสต์ที่ผลิตเอนไซม์แทนเนสได้ Sporidiobolus ruineniae ที่แยกได้จากชาหมักท้องถิ่นเพื่อการประยุกต์ใช้เป็นสารเสริมในอาหารสัตว์ทางเลือกในการทดแทนยาปฏิชีวนะ”

7.     ผศ.ดร. ปัญชิกา ปรังเขียว ภาควิชาเคมี  คณะวิทยาศาสตร์ โครงการ “การศึกษาสมบัติเชิงโครงสร้างและหน้าที่ของเปปไทด์แบคเทอริโอซินที่ต้านจุลชีพ เพื่อนำไปสู่การพัฒนาการรักษาโรคมะเร็ง”

8.     ผศ.ดร. ศิลา กิตติวัชนะ ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ โครงการ        “เครื่องมือแบบพกพาสำหรับการตรวจสอบและการหาปริมาณการปลอมปมในข้าวขาวดอกมะลิ 105 โดยอาศัยคลื่นเนียร์อินฟราเรดและแบบจำลองเคโมเมทริกซ์ที่มีความเป็นสากล”

9.     ดร. วราภรณ์ นันทิยกุล ภาควิชาฟิสิกส์และวัสดุศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ โครงการ “ฟังก์ชันการตอบสนองของเครื่องตรวจวัดนิวตรอนต่อรังสีคอสมิกที่วัดได้ในการเดินทางข้ามมหาสมุทรไปยังแอนตาร์กติกา”

10.  ดร. จักรเมธ บุตรกระจ่าง ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์   คณะวิทยาศาสตร์  โครงการ “ความทนทานต่อสัญญาณรบกวนในฉลากของโครงข่ายประสาทเทียมแบบเชิงลึก”

11.   ดร. อุทุมพร สุระยศ ภาควิชาวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล   คณะวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล โครงการ “การศึกษาคุณลักษณะทางโครงสร้างและคุณสมบัติทางภูมิคุ้มกันของพอลิแซคคาไรด์จากเมือกเห็ดไข่ห่าน”

12.   ดร. นวดนย์ คุณเลิศกิจ ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์   คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการ “โมเดลและอัลกอริทึมสำหรับการทำนายโรคมะเร็งด้วยวิธีการเชิงโมดูล”

13.  ผศ.ดร. วัชพล โรจนรัตนางกูร ภาควิชาวิศวกรรมเครื่องกล คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการ “การควบคุมการไหลแบบแยกตัวบนใบกังหันที่ได้รับเวคที่ทางเข้าโดยใช้สิ่งกีดขวางการไหลขนาดเล็ก”

14.   ดร. ดลเดช ตันตระวิวัฒน์ ภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า  คณะวิศวกรรมศาสตร์ โครงการ “การเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของนาโนเจนเนอร์เรเตอร์ชนิดไทรโบรอิเล็กทริกโดยใช้วัสดุคอมโพสิตที่มีพีดีเอ็มเอสเป็นฐานและการนำไปประยุกต์ใช้งานในรองเท้าอัจฉริยะ”

15.  ดร. ภาธินันท์ แพ่งนคร สถาบันวิศวกรรมชีวการแพทย์ โครงการ “การศึกษาเฟอริตินด้วยเทคนิคสเปกโทรอิเล็คโทรเคมีเพื่อพัฒนาเซนเซอร์ชีวภาพเพื่อการตรวจประเมินปริมาณเหล็กในบางโรค”

 

สาขาสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จำนวน 3 ราย

1.      ดร. ธัญญารัตน์ อภิวงค์ ภาควิชาประวัติศาสตร์  คณะมนุษยศาสตร์  โครงการ “จากพ่อค้าไม้ชาวพม่าถึงแรงงานต่างด้าว: การสร้างวัฒนธรรมพม่าในวัด จังหวัดเชียงใหม่”

2.     ดร. รวิ รุ่งเรืองศรี  ภาควิชาการตลาด  คณะบริหารธุรกิจ โครงการ “การศึกษาประสบการณ์ของลูกค้าในการรับบริการจากที่ปรึกษาทางการเงินที่เป็นหุ่นยนต์และมนุษย์: บทบาทของตัวแปรกำกับของความพร้อมทางเทคโนโลยีและการหลีกเลี่ยงอัลกอริทึม”

3.     ดร. ภารวี มณีจักร  ภาควิชาเศรษฐศาสตร์  คณะเศรษฐศาสตร์โครงการ “การวิเคราะห์ผลการใช้จ่ายเงินงบประมาณด้านการศึกษาต่อการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยและการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ภายใต้ Thailand 4.0”

 

ทุนพัฒนาศักยภาพในการทำงานวิจัยของทุนส่งเสริมนักวิจัยรุ่นใหม่ ประจำปีงบประมาณ 2562  จำนวน 1 คน

สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

1.      ดร. ณัฐยาภรณ์ อภัยใจ ภาควิชาสรีรวิทยา  คณะแพทยศาสตร์ โครงการ “บทบาทของการยับยั้งกระบวนการเนครอปโทสิสในหัวใจของหนูเพศผู้ที่มีภาวะอ้วนและดื้อต่ออินซูลิน และหนูเพศผู้ที่มีภาวะอ้วนและดื้อต่ออินซูลินร่วมกับการเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดแล้วมีเลือดกลับมาหล่อเลี้ยง”

 

....................................................



Normal 0 false false false EN-US X-NONE TH

ข้อมูลโดย : ข้อมูล : ศูนย์บริหารงานวิจัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
แกลลอรี่