แกะรอยนักเดินทางแห่งท้องทะเล จากโครงสร้างด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ “เต่ามะเฟือง”

2 กันยายน 2565

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

แกะรอยนักเดินทางแห่งท้องทะเล จากโครงสร้างด้านพันธุศาสตร์ประชากรของ “เต่ามะเฟือง”

เพราะเต่ามะเฟืองเป็นนักเดินทางไกล ที่สามารถว่ายน้ำในท้องทะเลได้ไกลนับหมื่นกิโลเมตร จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่เมื่อมีการปล่อยแม่เต่ามะเฟืองจากทะเลอ่าวไทย เต่าตัวนี้จะเดินทางข้ามคาบสมุทร ไปไกลถึงประเทศอินโดนีเซียได้ แต่เรื่องที่แปลกกว่านั้นก็คือ ไม่ว่าจะเดินทางไปไกลแค่ไหนก็ตาม แม่เต่าจะย้อนกลับมาวางไข่ในจุดที่พวกมันฟักเป็นตัว และลงสู่ทะเลเป็นครั้งแรกเสมอ

เช่นเดียวกับที่แม่เต่ามะเฟืองจำนวนหนึ่ง ได้เดินทางกลับมาวางไข่ที่ชายหาดฝั่งทะเลอันดามัน ในจังหวัดพังงาและภูเก็ต ในช่วง พ.ศ. 2561-2564 ทำให้ความหวังของการอนุรักษ์เต่ามะเฟืองในประเทศไทยกลับมาสดใสเรืองรองอีกครั้ง หลังจากที่ก่อนหน้านั้น เต่ามะเฟืองไม่ได้กลับมาวางไข่บนชายหาดในประเทศไทยนาน 5 ปีแล้ว ขณะที่ในปัจจุบันเต่ามะเฟืองถูกจัดให้เป็นสัตว์สงวนตาม พ.ร.บ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 ประเภทสัตว์ป่าจำพวกสัตว์เลื้อยคลาน เนื่องจากเป็นสัตว์ทะเลหายากและเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ มากที่สุดในจำนวนเต่าทะเลทั้งหมด

อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://cmu.to/5owJS


#CMU #ChiangMaiUniversity #มช #มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มหาวิทยาลัยชั้นนำที่รับผิดชอบต่อสังคมและการพัฒนาที่ยั่งยืน #CMUSDGs #CMUSDG9 #CMUSDG14 #CMUSDG17
แกลลอรี่