คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มก่อตั้งขึ้นเมื่อ วันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2537 เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านสัตวแพทย์ เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกในภาคเหนือ โดยมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี)
ประวัติแรกเริ่มก่อนจะมีการก่อตั้ง คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เรือโท ยงยุทธ สัจจวาณิชย์ (ดำรงตำแหน่งวันที่ 28 เมษายน พ.ศ.2518 ถึง 21 มกราคม พ.ศ. 2520) ได้มีดำริที่จะมีคณะสัตวแพทยศาสตร์ขึ้นใน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยส่วนภูมิภาค อธิการบดีได้ไปติดต่อพูดคุยกับสัตว์แพทย์หลายท่านเพื่อให้มาช่วยก่อตั้งคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ เช่นติดต่่อกับ รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ ดำรง พฤกษราช แห่งภาควิชาจุลชีววิทยาทางสัตวแพทย์ คณะสัตวแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยขณะนั้นได้มีการพบปะพูดคุยกัน เรื่องร่างหลักสูตรบ้าง แต่ระหว่างที่ดำเนินการอาจติดขัดเรื่องงบประมาณการดำเนินการจึงยังไม่สำเร็จ
ต่อมาในสมัยอธิการบดี ศาสตราจารย์ นาวาอากาศเอก นายแพทย์ ตะวัน กันวานพงศ์ (ดำรงตำแหน่งสมัยที่ 2 วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2522 ถึง 20 มกราคม พ.ศ. 2524) มีการสนับสนุนให้มีการก่อตั้งคณะสัตวแพทยศาสตร์อีกครั้ง แต่ยังประสบปัญหาเรื่องงบประมาณ จึงยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้
พุทธศักราช 2537
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม พ.ศ.2537 มีวัตถุประสงค์เพื่อตอบสนองความต้องการบุคลากรด้านสัตวแพทย์ และมุ่งผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพ เป็นคณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งแรกในภาคเหนือ เปิดสอนหลักสูตรปริญญาสัตวแพทยศาสตรบัณฑิต (หลักสูตร 6 ปี) ที่ได้รับการพัฒนาหลักสูตรจากการประชุมกลุ่มสถาบันสัตวแพทยศาสตร์ศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มุ่งเน้นการบูรณาการ (Subject Integration) การเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem-Based Learning) และเน้นการสร้างประสบการณ์วิชาชีพ (Professional Skills)
ปีการศึกษา 2539
เปิดรับนักศึกษารุ่นแรก โดยมี รองศาสตราจารย์ ดร. นายสัตวแพทย์ เทอด เทศประทีป เป็นคณบดีคนแรกและคณบดีก่อตั้ง (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ 2538-2545)
ปีการศึกษา 2546
เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท หลักสูตรสัตวแพทย์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรร่วมกับ Freie Universitte Berlin ประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี
พุทธศักราช 2551
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้เปลี่ยนฐานะเป็นมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ ส่งผลให้คณะมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้าง ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และในปีการศึกษา 2551 คณะได้มีการเปิดหลักสูตรระดับปริญญาโท และปริญญาเอก (หลักสูตรปกติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์สัตวแพทย์
พุทธศักราช 2552
วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2552 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้แบ่งส่วนงานภายในออกเป็น 6 หน่วยงาน ได้แก่
1. สำนักงานคณะ
2. ภาควิชาคลินิกสัตว์บริโภค
3. ภาควิชาคลินิกสัตว์เลี้ยงและสัตว์ป่า
4. ภาควิชาชีวศาสตร์ทางสัตวแพทย์และสัตวแพทย์สาธารณสุข
5. ศูนย์บริการสุขภาพสัตว์
6. ศูนย์สัตวแพทย์สาธารณสุขเอเชียแปซิฟิก
ปีการศึกษา 2554
เปิดหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (หลักสูตรนานาชาติ) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์
ปีการศึกษา 2556
ได้มีการเปลี่ยนชื่อสาขาวิชาของหลักสูตรระดับปริญญาโทและปริญญาเอก (หลักสูตรปกติ) เป็น "วิทยาศาสตร์การสัตวแพทย์"
พุทธศักราช 2566
วันที่ 1 ตุลาคม 2566 คณะสัตวแพทยศาสตร์ ได้ปรับปรุงส่วนงานใหม่ตามประกาศของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ประกอบด้วย 3 หน่วยงาน ดังนี้
1. สำนักงานคณะ
2. สำนักวิชาสัตวแพทยศาสตร์
3. โรงพยาบาลสัตว์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
และกลุ่มภารกิจยุทธศาสตร์เชิงรุก (บริหารรูปแบบ Sandbox) ประกอบด้วย
1.กลุ่มงานบ่มเพาะวิสาหกิจทางสัตวแพทย์
2.กลุ่มงานสุขภาพหนึ่งเดียวและสุขภาพเชิงนิเวศ
3.ศูนย์เวชศาสตร์ชันสูตรและนวัตกรรมด้านสุขภาพสัตว์
4.ศูนย์การเรียนรู้และส่งเสริมสุขภาพทางสัตวแพทย์ภาคเหนือ
ค่านิยมองค์กร (VMCMU)
Versatility : ความสามารถในการปรับตัว มีความยืดหยุ่นในการทำงาน และหน้าที่ต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย และมีประสิทธิ์ภาพ
Motivation : ส่งเสริมและผลักดัน ให้กำลังใจในการทำงานระหว่างกัรและกันในผู้ร่วมงาน เพื่อให้มีความสัมพันธ์และประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
Community Engagemment : มุ่งเน้นท้องถิ่น และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
Morality : ยึดหลักธรรมมาภิบาล เชิดชูคุณธรรม พัฒนาจิตอาสา/จิตสาธารณะ/จิตบริการ
Unity : ทำงานเป็นทีม บุคลากรสามัคคี และเป็นองค์กรแห่งความสุข
ปรัชญา (PHILOSOPHY)
สร้าง พัฒนา ถ่ายทอด และประยุกต์องค์ความรู้จากนานาชาติสู่ท้องถิ่น และจากท้องถิ่นสู่นานาชาติ
วิสัยทัศน์ (VISION)
คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถานศึกษาชั้นนำในเอเชีย และรับใช้สังคม
พันธกิจ (MISSION) และเป้าหมาย
• จัดการศึกษาระดับอุดมศึกษาและวิชาชีพชั้นสูงโดยมุ่งเน้นความเป็นเลิศทางวิชาการ บัณฑิตมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล และรอบรู้คู่คุณธรรม ตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
• ผลิตผลงานวิจัยทางสัตวแพทย์ เพื่อสามารถสนับสนุนการเรียนการสอนและการถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจสังคมของประเทศ
• ให้บริการวิชาการแก่สังคม มีส่วนร่วมพัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งด้วยหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
• ทำนุบำรุงศาสนา ศิลปวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อความเป็นเอกลักษณ์ของท้องถิ่นภาคเหนือ
• พัฒนาระบบบริหารจัดการ ด้วยหลักธรรมมาภิบาล พึ่งตนเองโดยใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง