CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application of Master's Degree
Application of Doctoral Degree
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application of Master's Degree
Application of Doctoral Degree
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staffs
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
The 55th Anniversary of Chiang Mai University
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Contact
Contact
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
The University’s Logo
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราสัญลักษณ์มหาวิทยาลัย
ตราและเครื่องหมายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในภาคภาษาไทย
เป็นรูปวงกลมซ้อนกันสองวง วงกลมชั้นนอกจำนวนสองเส้นเป็นขอบของตราเครื่องหมาย และวงกลมชั้นในหนึ่งเส้น ช่องระหว่างวงกลมสองชั้นด้านบน มีอักษรไทยภาษาบาลีว่า “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” ด้านล่างมีอักษรไทยว่า “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗” ระหว่างต้นและปลายอักษรด้านบนและด้านล่างมีรูปดอกสักหนึ่งรูปคั่นกลางทั้งด้านซ้ายและด้านขวา ด้านละหนึ่งรูป ภายในวงกลมมีรูปช้างอยู่ในท่าก้าวย่าง และใช้งวงชูคบเพลิงรัศมีแปดแฉก หันหน้าไปทางซ้าย
ตราและเครื่องหมายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ในภาคภาษาอังกฤษ
เหมือนกับตรา และเครื่องหมายของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในภาคภาษาไทย แต่เปลี่ยนอักษรไทยจาก “อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา” และ “มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. ๒๕๐๗” เป็นอักษรภาษาอังกฤษว่า “Attānaṃ Damayanti Paṇḍitā” และ “CHIANG MAI UNIVERSITY SINCE 1964” ตามลำดับ
สัญลักษณ์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
คือ รูปในวงกลมชั้นใน ได้แก่ รูปช้างอยู่ในท่าก้าวย่าง และใช้งวงชูคบเพลิงรัศมีแปดแฉก
การใช้งานตราและเครื่องหมายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ใช้ในพิธีการ รูปวงกลมทั้งสองชั้นและรูปดอกสักเป็นสีเขียว อักษรทั้งด้านบนและด้านล่าง พื้นช่องระหว่างวงกลมสองชั้นเป็นสีขาว และพื้นวงกลมวงในเป็นสีม่วงซึ่งเป็นสีประจำมหาวิทยาลัย รูปช้างและคบเพลิงเป็นสีขาว
ระบบสีตราประจำมหาวิทยาลัย
ภาพสีม่วงดอกรัก
ตราช้างและอักษร กำหนดให้ใช้สีม่วงตามสีประจำมหาวิทยาลัย คือ
สีม่วงดอกรัก
ซึ่งเป็นสีผสมของสี MAGENTA กับ สี CYAN ในอัตราส่วน 60:40 โดยมีรหัสสีในระบบ CMYK เป็น M60 C40 หรือรหัสสีในระบบ RGB เป็น R158 G118 B180
ภาพสีเขียว
ขอบวงกลม กำหนดให้ใช้สีเขียว (Virlidian) โดยมีรหัสสีในระบบ CMYK เป็น C83 M36 Y100 K29 หรือรหัสสีในระบบ RGB เป็น R40 G100 B40
ความหมายของตราและเครื่องหมายมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ช้างเป็นสัตว์ประจำชาติที่มีคุณค่าสูงมากในภาคเหนือ จึงเป็นสัญลักษณ์ของภาคเหนือ
• การก้าวย่างของช้าง หมายถึง ความเจริญก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง
• คบเพลิง หมายถึง ความสว่างไสวแห่งปัญญาและวิชาการ
• รัศมีแปดแฉก หมายถึง คณะทั้งแปดที่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จะจัดตั้งขึ้นตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ดอกสัก เป็นสัญลักษณ์ต้นไม้ทางเศรษฐกิจของภาคเหนือ หมายถึง ความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์
• คำบาลี อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา เป็นพุทธภาษิตและเป็นภาษิตประจำมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
• พ.ศ. 2507 เป็นปีการก่อตั้งมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ข้อกำหนดการใช้งาน
ให้เป็นไปตามราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 128 ตอนพิเศษ 146 ง 2 ธันวาคม 2554 เรื่อง ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ตรา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย มีสาระสำคัญ ดังนี้
• ตรา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ใช้เฉพาะกิจการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เท่านั้น
• การใช้ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่เพื่อการค้าจะกระทำมิได้ เว้นแต่เพื่อประโยชน์ในกิจการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่และต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมาย
• การใช้ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ที่มิใช่เพื่อประโยชน์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกิจการของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่โดยตรงจะกระทำมิได้ ทั้งนี้ หากจะเกิดประโยชน์แก่สมาคมนักศึกษาเก่าของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ หรือกลุ่มนักศึกษาเก่ามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ก็อาจกระทำได้โดยต้องได้รับอนุญาตเป็นหนังสือจากอธิการบดี หรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายก่อน
• ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ต้องปฏิบัติดังนี้
- ใช้ตามวัตถุประสงค์การขอใช้และตามที่ได้รับอนุญาต
- ใช้ในสถานที่ พื้นที่ หรือบนสิ่งของที่เหมาะสมเช่นวิญญูชนพึงปฏิบัติและด้วยความเคารพในตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ดังกล่าว
- เมื่อเสร็จสิ้นการใช้ ต้องเก็บรักษาหรือทำลาย เพื่อมิให้บุคคลอื่นนำไปใช้ต่อไป
• ในกรณีที่ผู้ได้รับอนุญาตให้ใช้ตรา เครื่องหมาย หรือสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ไม่ปฏิบัติตามกำหนด ให้อธิการบดีหรือผู้ที่อธิการบดีมอบหมายดำเนินการดังนี้
- ให้สั่งยุติการอนุญาตให้ใช้
- ในกรณีที่เกิดความเสียหายแก่มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องทันที
อัตลักษณ์มหาวิทยาลัย
พุทธสุภาษิตประจำมหาวิทยาลัย
อตฺตานํ ทมยนฺติ ปณฺฑิตา มีความหมายว่า บัณฑิตทั้งหลายย่อมฝึกตน
พระพุทธรูปประจำมหาวิทยาลัย
พระพุทธพิงคนคราภิมงคล
พระพุทธทศพลชินราช
พระพุทธหริภุญไชยสุภมงคล
ดอกไม้ประจำมหาวิทยาลัย
ดอกทองกวาว
ข้อมูลอ้างอิง
• ประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง ตรา เครื่องหมาย และสัญลักษณ์ของมหาวิทยาลัย
• ระเบียบมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าด้วยการจัดการทรัพย์สินทางปัญญา พ.ศ. 2554
• การเทียบรหัสสีตราสัญลักษณ์ ระบบสีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
• ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์ ภารกิจสื่อสารภาพลักษณ์ หมายเลขโทรศัพท์ 053-944-1301
ตราสัญลักษณ์รองอย่างเป็นทางการ (SUB-LOGO SIGNATURE)
ตราสัญลักษณ์รอง (SUB-LOGO SIGNATURE)
โทนสี (COLOR SCHEME)
แนวความคิดในการออกแบบ (DESIGN CONCEPT)
แนวความคิดในการออกแบบ ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิสัยทัศน์ของมหาวิทยาลัย ที่ต้องการจะมุ่งเน้นและให้ความสำคัญในด้านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาปรับใช้ เพื่อการพัฒนาในหลายๆด้านของมหาวิทยาลัย ดังนั้นงานออกแบบตราสัญลักษณ์ จึงเลือกใช้รูปทรงกลมที่มีลักษณะการเคลื่อนไหวแบบพลวัตจนทำให้เกิดตัวอักษร CMU เพื่อสื่อถึงแนวทางการพัฒนามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีการเคลื่อนไหวและพัฒนาตลอดเวลาอย่างต่อเนื่องเป็นพลวัตโดยได้เลือกใช้สีหลักคือสีม่วงซึ่งเป็นสีของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มาผสมผสานกับสีเหลืองแกมสัมของดอกทองกวาว ซึ่งมีนัยยะของการเป็นสีแห่งนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์ สะท้อนผ่านงานออกแบบที่มีความสมดุลและเรียบง่ายภายใต้ความหมายแฝงภายในตราสัญลักษณ์ดังกล่าว
Number One Innovation University in Thailand
การเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในด้านนวัตกรรมของประะเทศไทย
Innovation is The First Priority
นวัตกรรมคือ สิ่งสำคัญอันดับแรกของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่
Spin to innovation and creative
Dynamic พลวัต
Balance สมดุล เท่ากัน
ดาวน์โหลดตราสัญลักษณ์รอง (Download SUB-LOGO SIGNATURE)
https://cmu.to/Sub-logo
มาตรฐานสีประจำคณะ (FACULTY COLOR)
มาตรฐานสีประจำคณะ (FACULTY COLOR)