คณะแพทยศาสตร์

Faculty of Medicine

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งมั่นผลิตแพทย์ พร้อมเป็นผู้นำสู่สากล

เข้าสู่เว็บไซต์

คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 
   คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามของประเทศไทย และเป็นโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคแห่งแรกสถานที่ตั้งปัจจุบันคือ เลขที่ ๑๑๐ ถนนอินทวโรรส ตำบลศรีภูมิ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ มีเนื้อที่ประมาณ ๒๗๖ ไร่ มุมทิศตะวันออกเฉียงใต้ จดประตูสวนดอก 

   การจัดตั้ง
มหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ซึ่งรับผิดชอบในการผลิตบัณฑิตแพทย์แต่เพียงแห่งเดียวในอดีต ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในประเทศไทย แม้จะได้พยายามเพิ่มการผลิตแพทย์จากโรงเรียนแพทย์ทั้งสองแห่งที่มีอยู่ (คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์) แล้วก็ตาม แต่ภายหลังที่แพทยสำเร็จการศึกษาแล้ว ส่วนใหญ่ยังประกอบอาชีพอยู่ในกรุงเทพฯ และจังหวัดใหญ่ ๆ ใกล้เคียง จึงเสนอขอจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่สามต่อกระทรวงสาธารณสุข โดยมีจุดมุ่งหมายว่า เพื่อให้แพทย์ได้สัมผัสกับชีวิตในส่วนภูมิภาคตั้งแต่ยังเป็นนักศึกษา มีจิตใจรักภูมิภาค และด้วยความหวังว่า เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว จะยังคงประกอบอาชีพในส่วนภูมิภาค จึงร่วมกันเสนอโครงการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่จังหวัดเชียงใหม่ ต่อรัฐบาลสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมาตรี ใน พ.ศ.๒๔๙๗
   พ.ศ. ๒๔๙๙ นายแพทย์เฉลิม พรหมมาส ผู้บัญชาการมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ขณะนั้น ได้ติดต่อกับองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา (USOM) ซึ่งกำลังดำเนินการช่วยเหลือการศึกษาแพทยศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย อยู่ที่คณะแพทยศาสตร์และศิริราชพยาบาล โดยมี Dr.Robert W. Richard ผู้ซึ่งเป็น Technical Advisor ของโครงการอบรมเทคนิคการแพทย์ ช่วยประสานงานกับฝ่ายบริหารขององค์การฯในที่สุด องค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา เล็งเห็นความสำคัญในการจัดตั้งโรงเรียนแพทย์ในส่วนภูมิภาคเพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ของประเทศไทย จึงได้ตกลงให้ความช่วยเหลือและทำสัญญากัน เมื่อ วันที่ ๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ มีสาระสำคัญว่า สหรัฐอเมริกาจะให้ความช่วยเหลือทางการเงินครั้งหนึ่ง ในวงเงิน ๖๕ ล้านบาท โดยให้รัฐบาลไทยจัดตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามที่จังหวัดเชียงใหม่แทนพิษณุโลกให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการด้วย หลักการใหญ่ ๆ ที่รัฐบาลอเมริกันตกลงให้ความช่วยเหลือมีดังนี้
๑. ค่าก่อสร้างอาคารเป็นเงินครึ่งหนึ่ง
๒. จัดหาครูชาวอเมริกันมาช่วยสอน จนกว่าฝ่ายไทยจะสามารถดำเนินการได้เอง โดยใช้เวลาประมาณ ๖-๘ ปี
๓. จัดหาเครื่องมือ เครื่องใช้ ในส่วนที่เกี่ยวกับการศึกษาให้
๔. จ้างบริษัท Litchfield Whiting Brownes Associated เป็นผู้ออกแบบอาคารโรงเรียนแพทย์
๕. ให้ทุนอาจารย์แพทย์และพยาบาลไทย ไปศึกษาต่อที่สหรัฐอเมริกาวันที่ ๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๔๙๙ กรมวิเทศสหการได้ยืนยันความตกลงเป็นทางการกับองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ ก็ยืนยันความต้องการที่ะสร้างโรงเรียนแพทย์ที่เชียงใหม่ จึงเสนอกระทรวงสาธารณสุข เพื่อนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี เพื่อพิจารณาอีกครั้งหนึ่ง
วันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๙๙ ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี มีมติเห็นชอบให้ความช่วยเหลือจากองค์การบริหารวิเทศกิจของสหรัฐอเมริกา และอนุมัติในหลักการให้ตั้งโรงเรียนแพทย์แห่งที่สามได้ที่เชียงใหม่
   วิสัยทัศน์คณะ
วิสัยทัศน์คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เป็นสถาบันการแพทย์ชั้นนำระดับมาตรฐานสากล
   พันธกิจคณะ
ผลิตบัณฑิตแพทย์คุณภาพ คุณธรรม เป็นสากล สร้างสรรค์งานวิจัย มาตรฐานสากล เพื่อชี้นำด้านสุขภาพ ให้บริการสุขภาพ ที่ได้มาตรฐานระดับสากล
   สมรรถนะหลัก
สมรรถนะความสามารถในการบูรณาการบริการสุขภาพที่เป็นเลิศกับการศึกษาและงานวิจัย
   เป้าหมาย
เป้าหมาย 151-200 QS Ranking Academic Reputation Citation per Paper Employer Reputation H-index Citations
   แผนกลยุทธ
IWISH วัตถุประสงค์เชิงกลยุทธ
I: International Player
มุ่งสู่นานาชาติ - มุ่งสู่การยอมรับระดับสากล แผนปฏิบัติการที่สำคัญ - สร้างหลักสูตรนานาชาติ/ มุ่งเน้นผลงานวิจัยคุณภาพสูง - เพิ่มอาจารย์ชาวต่างชาติ/ สร้างเครือข่ายทุนวิจัยระดับนานาชาติ เป้าหมาย - QS Ranking อันดับที่150 - ทุนวิจัยจากต่างชาติมากกว่า 350 ล้านบาท / ปี
W: Wisdom Leader
ผู้นำภูมิปัญญา - ก้าวเป็นผู้นำองค์ความรู้ทางการแพทย์ แผนปฏิบัติการที่สำคัญ - พัฒนา Academic Hub / หลักสูตรได้รับการรับรองระดับสากล - จัดตั้งศูนย์และพัฒนาหลักสูตร Medical Informatics and AI เป้าหมาย - QS Academic Reputation Score มากกว่า 70/100 - เป็นผู้นำองค์ความรู้ด้าน Medical Informatics and AI
I: Innovative Medical School
ค้นคว้านวัตกรรม - ยกระดับเป็นโรงเรียนแพทย์แห่งนวัตกรรม แผนปฏิบัติการที่สำคัญ - เพิ่มการจดสิทธิบัตร / สร้างนวัตกรรมด้านหลักสูตรและการบริการ - พัฒนาบุคลากร และ จัดตั้ง Innovation Management Center เป้าหมาย - รายได้จากนวัตกรรมของคณะฯ มากกว่า 15 ล้านบาท/ปี - พัฒนาเป็น Digital and Modernized Faculty
S: Sophisticated & Comprehensive Medicine
บูรณาการการรักษา - พัฒนาเป็นผู้นำการแพทย์อันทันสมัยและบูรณาการ แผนปฏิบัติการที่สำคัญ - จัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรคแบบบูรณาการ DOC - พัฒนาบุคลากรและสร้างงานวิจัยด้านการแพทย์ผสมผสาน เป้าหมาย - ผ่านการรับรอง Advanced HA โดย สรพ. และ ISQua - สร้างหลักสูตรการแพทย์ผสมผสาน มากกว่า 4 หลักสูตร

H: Happy Organization
สวนดอกสุขสันต์ - ปฏิรูปเป็นองค์กรที่สร้างความสุข แผนปฏิบัติการที่สำคัญ - สร้างศูนย์สนับสนุนการเรียนรู้ด้วยตนเองที่ทันสมัยให้แก่ผู้เรียน - จัดตั้ง ศูนย์Customer Support Center - ยกระดับงานด้าน HRD ครบวงจร เป้าหมาย - เพิ่มความพึงพอใจ / ความผูกผันของผู้เรียน ผู้รับบริการ บุคลากร
ค่านิยม
ค่านิยมที่โรงพยาบาล มุ่งเน้นในปี 2558 “CQIT”
C : Customer focus การมุ่งเน้นผู้รับบริการ
Q : Quality คุณภาพการ รักษาพยาบาลได้ มาตรฐานระดับสากล และ ปลอดภัย
I : Innovation สร้างนวัตกรรม ในการรักษาพยาบาล
T : Team work การ ทำงานเป็นทีม

ข่าวและผลงานเด่น

End of content