วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล

College of Marine Studies and Management

มุ่งสู่การเป็นสถาบันการศึกษาและวิจัยทางทะเลชั้นนำระดับสากล

เข้าสู่เว็บไซต์
ประวัติความเป็นมา
                              มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขยายโอกาสทางการศึกษาไปยังพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร โดยได้เปิดสอนระดับบัณฑิตศึกษาในหลักสูตรสาขาวิชาบริหารธุรกิจ ภาคพิเศษ (Ex-MBA) ตามความต้องการของท้องถิ่น ตั้งแต่ปี 2544 เป็นต้นมา ต่อมาได้รับความอนุเคราะห์จาก คุณแม่เง็กเน้ย และครอบครัวศิริชัยเอกวัฒน์ มอบที่ดินในพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร จำนวน 5 ไร่ 4/10 ตารางวา เพื่อใช้เป็นสถานที่จัดการเรียนการสอน เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2553 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่จึงได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียน 3 ชั้นหลังแรก โดยมีพิธีเปิดศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดสมุทรสาคร อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2554 พร้อมทั้งจัดสรรงบประมาณ อัตรากำลัง รวมทั้งการพัฒนาทางกายภาพห้องปฏิบัติการพื้นฐานและระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีการดำเนินการและกิจกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ด้านการจัดการเรียนการสอน ด้านฝึกอบรมและการจัดกิจกรรมต่างๆ และด้านการบริการวิชาการ เป็นต้น
ต่อมาในปี 2557 มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มีแนวทางการพัฒนาศูนย์การศึกษาสมุทรสาคร ให้สามารถดำเนินการได้อย่างยั่งยืน จึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดสมุทรสาคร” โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริการ พัฒนาสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ เป็นประธานกรรมการ และผู้จัดการโครงการจัดตั้งศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ “สมุทรสาคร” จังหวัดสมุทรสาคร ร่วมเป็นกรรมการ และมี ดร.วิชาญ ศิริชัยเอกวัฒน์ เป็นที่ปรึกษา ซึ่งบทบาทของคณะกรรมการดังกล่าวทำหน้าที่กำกับและสนับสนุนการดำเนินการด้านต่างๆ และส่งเสริมและพัฒนาหลักสูตรของศูนย์การศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดสมุทรสาคร ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
                              ในเวลาต่อมาเพื่อให้การพัฒนาของศูนย์มีความต่อเนื่องสามารถดำเนินการได้ด้วยความยั่งยืน ปี 2559 มหาวิทยาลัยจึงได้มีคำสั่งแต่งตั้ง “คณะกรรมการศึกษารูปแบบการบริหารจัดการ วิทยาลัยการจัดการและการศึกษาทางทะเล จังหวัดสมุทรสาคร” โดยมีรองอธิการบดีฝ่ายบริการ พัฒนาสังคม ศิลปวัฒนธรรม และกิจการพิเศษ เป็นประธานกรรมการ เพื่อศึกษารูปแบบการบริหารจัดการวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล ซึ่งคณะกรรมการได้มีการปรึกษาหารือร่วมกันเห็นว่าเพื่อให้การบริหารของศูนย์การศึกษา “สมุทรสาคร” เกิดสัมฤทธิผลตามยุทธศาสตร์และแนวนโยบายการพัฒนามหาวิทยาลัย เห็นสมควรให้มีการพัฒนาเป็น “โครงการจัดตั้งวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดสมุทรสาคร” โดยประธานคณะกรรมการโครงการจัดตั้งวิทยาลัยฯ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์อำนาจ อยู่สุข ได้นำเสนอความพร้อมของการจัดตั้งวิทยาลัยต่อสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และได้รับความเห็นชอบจากสภามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จึงมีมติอนุมัติโครงการจัดตั้งฯ เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2560
                              ต่อมาได้รับการอนุมัติจัดตั้งส่วนงาน “วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล” ตามประกาศมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง การจัดตั้งส่วนงานของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ พ.ศ. 2560 ลงวันที่ 25 มีนาคม 2560 และมีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 114 ง ลงวันที่ 25 เมษายน 2560 จากนั้นมหาวิทยาลัยได้มีคำสั่งแต่งตั้งให้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชรินทร์ เตชะพันธุ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายแผนงาน ให้ดำรงตำแหน่งรักษาการแทนคณบดีวิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2560

หลักสูตรและบริการ

  • วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเล มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มุ่งเน้นการเรียนการสอนระดับบัณฑิตศึกษา และ หลักสูตรระดับประกาศนียบัตร ซึ่งสามารถเก็บสะสมรวมรวมเพื่อศึกษาต่อแบบบัณฑิตศึกษาได้ (Credit bank) โดยมีหลักสูตรตามแผนดังนี้
  • วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีและสหวิทยาการจัดการ (หลักสูตรสหสาขาวิชา) : เป็นหลักสูตรที่บริหารจัดการโดยบัณฑิตวิทยาลัย โดย วิทยาลัยการศึกษาและการจัดการทางทะเลเป็นผู้รับผิดชอบในแขนงวิชาการจัดการพาณิชย์นาวีและการค้าระหว่างประเทศ 

วิสัยทัศน์ พันธกิจ และ ค่านิยม (Vision | Missions | Value)  

เป็นสถานบันที่สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ใกล้เคียง”

ผลลัพธ์หลัก (Key Results): 

  • ด้านการศึกษา: สามารถเปิดหลักสูตรระดับบัณฑิตและการศึกษารูปแบบใหม่ด้านนวัตกรรมอาหารและอุตสาหกรรมชีวภาพและการจัดการโลจิสติกส์และการขนส่งทางทะเล 
  • ด้านวิจัย: ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรมที่สามารถสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาครและพื้นที่ใกล้เคียง

พันธกิจ : Missions 

  • การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาและการศึกษารูปแบบใหม่ด้านการศึกษาและการจัดการทางทะเล โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่
  • ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่
  • บริการวิชาการ ถ่ายทอดองค์ความรู้ทางด้านการศึกษาและการจัดการทางทะเล เพื่อตอบสนองความต้องการของชุมชนในพื้นที่
  • ส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน

“การจัดการศึกษา ระดับอุดมศึกษาและการศึกษารูปแบบใหม่ด้านการศึกษาและการจัดการทางทะเล โดยมุ่งเน้นตอบสนองความต้องการของภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่ ผลิตงานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อส่งเสริมมูลค่าทางเศรษฐกิจและสังคมในพื้นที่ ให้บริการวิชาการ ด้านการศึกษาและการจัดการทางทะเล ตามความต้องการของพื้นที่ และส่งเสริมการอนุรักษ์และใช้ประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืน”

ค่านิยม : Value

ณ Maritime CMU เรามีพลังในการสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
โดยมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน พร้อมกับสร้างเครือข่าย เพื่อก้าวสู่สังคมแห่งความอย่างยั่งยืน
(Omnipotent)มีพลังในการ
(Creation) สร้างสรรค์
(Excellence) เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศ
(Agility )โดยมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
(Networking) สร้างเครือข่าย
(Sustainable society) เพื่อสังคมแห่งความยั่งยืน


ข่าวและผลงานเด่น

End of content