CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
ปัจจัยเสี่ยงมะเร็งเต้านม
24 กันยายน 2563
คณะแพทยศาสตร์
ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา โรคมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งที่พบมากที่สุดอันดับ 1 ในผู้หญิงไทยและผู้หญิงทั่วโลก อุบัติการณ์ของโรคมะเร็งเต้านมในผู้หญิงไทยพบได้ประมาณ 35 - 40 ราย ต่อประชากรเพศหญิง 100,000 คน ในทุกปีจะมีผู้ป่วยโรคมะเร็งเต้านมเพิ่มขึ้น 2 หมื่นรายต่อปี และเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้พบผู้ชายก็เป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ ประมาณ 1 ราย ต่อประชากรเพศชาย 100 คน
อาการโดยส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่มาพบแพทย์ เริ่มแรกมักจะเป็นก้อนที่สามารถคลำได้ ไม่เจ็บ เมื่อไม่รู้สึกเจ็บจึงคิดว่าไม่อันตรายคิดว่าไม่เป็นอะไรจึงไม่มาพบแพทย์ และจะมาพบแพทย์เมื่อเป็นก้อนโตขึ้น อย่างไรก็ดีการตรวจพบมะเร็งในระยะแรกจะช่วยให้การรักษามีโอกาสประสบความสำเร็จได้สูง แม้การแพทย์ในปัจจุบันยังไม่สามารถสรุปสาเหตุที่แน่ชัดของการเกิดมะเร็งเต้านมได้ เนื่องจากสามารถเกิดขึ้นได้จากหลายๆ ปัจจัย การรู้จักสังเกตปัจจัยเสี่ยงโรคมะเร็งเต้านมจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้หญิงทุกคนควรรู้ ปัจจัยเสี่ยงหลัก ได้แก่ พันธุกรรม และญาติสายตรงเป็นมะเร็งเต้านม ,ผู้หญิงอายุมาก ,ผู้ไม่มีบุตร ,มีบุตรคนแรกช้า และมีประวัติของโรคมะเร็งเต้านมข้างหนึ่งมาก่อน
ปัจจัยเสี่ยงรองลงมา ได้แก่ ผู้มีประจำเดือนเร็ว ,หมดประจำเดือนช้า ,การได้รับฮอร์โมนทดแทน เช่น ทานยาคุมกำเนิด ทานฮอร์โมนเสริมในสตรีวัยทอง ,ภาวะอ้วน ,การดื่มแอลกอฮอล์ ,ความเครียด และการไม่ออกกำลังกาย
ดังนั้นถ้าหากรู้ล่วงหน้าหรือรู้พฤติกรรมที่จะก่อให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งเต้านม ก็อาจจะพอทำให้เราห่างไกลจากโรคมะเร็งเต้านมได้มากยิ่งขึ้น
ข้อมูลโดยอาจารย์ แพทย์หญิงอารีวรรณ สมหวังประเสริฐ หัวหน้าหน่วยระบบศรีษะ คอ และเต้านม ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: