CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
รู้จัก กัญชาเพื่อการแพทย์ เทรนด์ที่ได้รับความสนใจทั่วโลก
5 พฤษภาคม 2565
คณะแพทยศาสตร์
กัญชาเป็นพืชที่ได้รับความสนใจทั่วโลก โดยหลักฐานจากชาวกรีกและชาวโรมัน ใช้รากกัญชาเป็นยาลดความเจ็บปวด ชาวไซเธียนส์ ในเอเชียกลาง เป็นกลุ่มแรกที่เริ่มนำกัญชามาเสพเพื่อสันทนาการ ความบันเทิง นอกจากนี้การแพทย์อายุรเวทของอินเดีย ใช้ใบกัญชาแห้งเป็นเครื่องยาแห้ง หรือในศาสตร์การแพทย์จีนมีการบันทึกการใช้ “กัญชา” ในหนังสือกัญชาหลายเล่มด้วยกัน
หลังจากนั้นเมื่อมีการเริ่มใช้อย่างแพร่หลาย ยาวนาน จึงได้มีการควบคุมกัญชาเกิดขึ้น ถือว่ากัญชาเป็นยาเสพติด แต่เมื่อมีหลักฐานที่ใช้ในการรักษาโรคต่างๆ ซึ่งมีการเห็นประโยชน์ของกัญชา จึงมีการนำกัญชามาผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ซึ่งในประเทศไทยเองเช่นเดียวกัน โดยจะเริ่มนำกัญชามาใช้ในทางการแพทย์มากขึ้น
ทำความรู้จักต้นกัญชา มี 2 ประเภท คือตัวผู้และตัวเมีย ซี่งตำราสรรพคุณยาไทยจะระบุว่ากัญชาทุกส่วน มีรสเมาเบื่อ คือรสเมาเบื่อของพืช ก็เช่นเดียวกับรสขม แต่มีความเป็นพิษที่สูง ยิ่งถ้าเป็นพืชป่า ถ้ากินไม่ถูกอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้ เมื่อทานจะมีอาการเมา หรือมึนจากการใช้ได้ แต่ด้วยฤทธิ์ของยาจะทานเป็นอาหารไม่ได้ จะต้องใช้อย่างถูกต้อง
ต้นกัญชาแต่ละส่วนจะมีสรรพคุณแตกต่างกัน โดยรวมจะนำกัญชาไม่ว่าจะเป็น ใบ ก้าน ดอก ราก ฯลฯ มาสกัดเป็นยา ซึ่งส่วนของกัญชาที่นำมาใช้ ในการผลิตยา โดยส่วนใหญ่จะใช้ช่อดอกกัญชา ซึ่งอาจจะเคยได้ยินในเรื่องของน้ำมันกัญชามาบ้างแล้ว ในทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จะนำช่อดอกกัญชานำมาสกัดโดยจะมีวิธีการสกัดต่างๆ เพื่อให้ได้สารสกัดบริสุทธิ์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในทางการแพทย์ต่อไป
โครงสร้างของตำรับยาไทย
ตำรับยาของแพทย์แผนไทย จะนำทุกส่วนของกัญชามาเข้าตำรับ โดยมีตัวยาอื่นเข้ามาผสมกับกัญชาด้วย ออกมาเป็น
ตำรับหนึ่งเพื่อใช้รักษาโรคต่าง ๆ
- ตัวยาหลัก เป็นสมุนไพรที่ในตำรับที่ไปช่วยรักษาโรคหลัก เป็นตัวยาที่จะใช้รักษาโรคนั้น
- ตัวยารอง เป็นตัวยาที่มุ่งหมายเพื่อใช้รักษาโรคแทรกตามมา หรือในกรณีที่มีอาการของโรคหลายโรคด้วยกัน จะถูกจัดไว้รักษาอาการรองลงมา ตัวยารองจะต้องมีสรรพคุณไม่ขัดกันกับตัวยาหลัก หรือทำลายฤทธิ์ตัวยาหลัก
- ตัวยาคุม หรือยาประกอบ เป็นตัวยาที่คุมกำลัง หรือคุมฤทธิ์ของตัวยาตัวอื่น ให้เป็นไปด้วยดีหรือ ป้องกันโรคตาม หรือเสริมในส่วนที่แก้ไขเพิ่มเติม ให้ยามีสรรพคุณสมบูรณ์ยิ่งขึ้น และสรรพคุณยาต้องไม่ขัดกัน ตัวยาคุมยังเป็นตัวที่คุม และส่งเสริมระบบ อวัยวะ การทำงานของร่างกาย
- ตัวยาชูรส ชูกลิ่น และแต่งสี คือ ตัวยาที่นำมาปรุงแต่งเพื่อให้ยาขนานนั้นๆ น่ารับประทาน เพื่อให้ง่ายแก่การใช้ยา และสรรพคุณต้องไม่ขัดกับยาตัวอื่นๆ
ตำรับกัญชาที่ใช้อย่างถูกต้องโดยมีแพทย์จ่าย และสถานที่จำหน่ายจะต้องได้รับใบอนุญาตในการจำหน่ายยาเสพติดให้โทษประเภทที่ 5
โดยยาตำรับกัญชาที่นำมาใช้ในคลินิก TTCM Cannabis จำหน่ายโดยแพทย์แผนไทยเท่านั้น
-น้ำมันกัญชา (ตำรับหมอเดชา)
-ยาศุขไสยาศน์ (สำหรับผู้มีอาการนอนไม่หลับ เบื่ออาหาร)
-ยาแก้นอนไม่หลับ ยาแก้ไข้ผอมเหลือง
-ยาแก้ลมขึ้นเบื้องสูง
-ยาแก้ลมเนาวนารีวาโย
-ยาแก้ลมแก้เส้น
-ยาทำลายพระสุเมรุ
-ยาไฟอาวุธ
-ยาแก้สัณฑฆาต กร่อนแห้ง
-ยาไพสาลี
-ยาริดสีดวงทวารหนัก และโรคผิวหนัง
กลุ่มอาการที่ทางคลินิกกัญชาแพทย์แผนไทย รับการรักษา
-นอนไม่หลับ (นอนหลับยาก หรือหลับไม่สนิท)
-เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย
-ไมเกรน
-กล้ามเนื้อสั่น ทรงตัวไม่ดี พาร์กินสัน
-ปวดจากมะเร็ง
-ปวดจากปลายประสาทอักเสบ
-ปวดจากโรคกล้ามเนื้อเรื้อรัง
-อาการปวดอื่นๆ ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษามาตรฐาน
-กล้ามเนื้ออ่อนแรง อัมพฤกษ์ อัมพาต อัมพาตใบหน้า
-ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ กระดูก เอ็น มือเท้าชาเรื้อรัง
อาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
-มึน เวียนศีรษะ
-วิตกกังวล
-สับสน
-หัวใจเต้นช้า
-อาการทางจิตเวช
-ความดันโลหิตผิดปกติ
-ประสาทหลอน, กระวนกระวาย, เสียสมดุลการทรงตัว
เกณฑ์ไม่รับผู้ป่วยเข้ารักษาในคลินิก
-อายุต่ำกว่า 18 ปี ต้องมีผู้ปกครองเซ็นใบยินยอมการรักษา
-กำลังตั้งครรภ์ วางแผนตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
-มีประวัติแพ้กัญชาหรือส่วนประกอบอื่นในตำรับ
-ป่วยโรคเรื้อรังขั้นรุนแรงที่ยังไม่สามารถควบคุมอาการได้ เช่น โรคหัวใจที่ยังกำเริบ
-ผู้ที่มีภาวะการทำงานของตับและไตผิดปกติ
-ผู้ป่วยโรคติดต่อร้ายแรง หรือโรคติดเชื้อในระยะแพร่กระจาย
-ผู้ป่วยที่เป็นโรคทางจิตเวช
-ผู้ป่วยที่ติดสารเสพติดรวมถึงนิโคติน หรือเป็นผู้ดื่มสุราอย่างหนัก
อย่างไรก็ตามผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษา จากคลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย (TTCM Cannabis) ต้องได้รับการพิจารณาจากแพทย์ประจำโรคของผู้ป่วยก่อน เพื่อพิจารณาประกอบการรักษา โดยขั้นตอนการรับบริการนั้นทางแพทย์จะต้องได้รับการแจ้งข้อมูลอาการเบื้องต้น และทำการนัดหมาย มีการคัดกรองโดยพยาบาลวิชาชีพ ตรวจโดยแพทย์แผนไทยประยุกต์ และเภสัชกรตรวจสอบรายการยา ให้คำแนะนำการใช้ยา หลังจากนั้นจะมีการแอดไลน์เพื่อติดตามอาการหรือสอบถามเพิ่มเติม และติดตามอาการทางโทรศัพท์ในวันที่ 3 หลังเริ่มใช้ยา
ผู้สนใจ คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมเบื้องต้นได้ที่ 053-934897-9, Line official: @TTCMCANNABIS
ที่มา : สุขภาพดีกับหมอสวนดอก ตอน คลินิกกัญชาทางการแพทย์แผนไทย TTCM Cannabis
Facebook : https://cmu.to/XTojs
ขอขอบคุณข้อมูลจาก: แพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) ชยน์พรรณ์ แสงเพชร และแพทย์แผนไทยประยุกต์ (พท.ป.) ณพรรษกรณ์ คงภาษี แพทย์แผนไทยประยุกต์ ประจำศูนย์การแพทย์แผนไทย และการแพทย์ผสมผสาน ศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#กัญชา
#MedCMU #MedCMUในมือคุณ
#คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
#สื่อสารองค์กรMedCMU
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
×
RoomID:
Room Name:
Description: