CMU
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
|
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
|
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
|
TH
EN
CN
TH
EN
CN
Curricular
Seperating Faculties
Search for Curriculums
Bachelor’s Degree
Master’s Degree
Doctoral Degree
Other Curriculums
Studying at CMU
Application of Bachelor's Degree
Application for Graduate Studies
Application of International Program
CMU Presidential Scholarship
Faculties and Departments
Faculties
CMU’s Organizations
Other Division
News
Research and Innovation News
Outstanding News
Outstanding Staff
Prize and Pride
Conference and Seminar
Executives' News
Job Application
Procurement
Event Calendar
COVID-19 and PM2.5
About CMU
Background
The 60th Anniversary of Chiang Mai University
Resolution/ Vision/ Mission/Values and Organizational Culture
Authority
The University’s Logo
About CMU
Open Data Integrity and Transparency Assessment : OIT
CMU 360
Sustainable Development Goals
Organizational Structure and Administration of Chiang Mai University
Education Development Plan 5 years
Committee of University Council
Executives
Deans
Directors
Employee Council
Download CMU Powerpoint Template
Q&A
Privacy Policy
Contact
Suggestion
ข่าว
แพทย์ มช.ชี้”ไข้อีดำอีแดงมาแรง! ใครบ้างเสี่ยงติดเชื้อ
7 มีนาคม 2568
คณะแพทยศาสตร์
แพทย์ มช. เตือน “ไข้อีดำอีแดง” ระบาดในเด็ก แนะรีบรักษาป้องกันแพร่เชื้อ พบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี ผู้ปกครองควรเฝ้าระวัง หากเด็กมีอาการเสี่ยง ควรแยกจากผู้อื่นและพาไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสม ป้องกันการแพร่กระจายในโรงเรียน
พญ.ณัฐชยาญ์ คุณานิจถาวร แพทย์ประจำบ้านต่อยอดสาขาโรคติดเชื้อ ชั้นปีที่ 2 ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มช. เปิดเผยว่า “โรคไข้อีดำอีแดงหรือ scarlet fever เป็นโรคที่เกิดจากพิษของเชื้อแบคทีเรียชื่อ เสตร็ปโตคอสคัสชนิดเอ (Streptococcus group A) เป็นเชื้อก่อโรคสำคัญของคอหอยหรือทอลซิลอักเสบ สามารถสร้างสารพิษเรียกว่า อิริโทรเจนิกท๊อกซิน (Erythrogenic toxin) ซึ่งทำให้เกิดผื่นแดงตามตัว อีกทั้งเชื้อนี้สามารถก่อโรคอื่นๆ ได้แก่ โรคติดเชื้อผิวหนัง โรคหัวใจรูมาติก เป็นต้น พบได้บ่อยในเด็กอายุ 5-15 ปี โดยในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี พบได้น้อยมาก เชื้อชนิดนี้มักอยู่ในน้ำลาย เสมหะหรือสารคัดหลั่งของผู้ป่วย เช่น น้ำมูก สามารถติดต่อได้โดยการหายใจสูดเอาละอองฝอยของเสมหะที่ผู้ป่วยไอ จาม รด ติดต่อโดยการสัมผัสโดยตรงผ่านทางมือผู้ป่วย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น แก้วน้ำ จาน ชาม ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น
อาการของโรคนี้ จะพบไข้สูงฉับพลัน หนาวสั่น เจ็บคอมาก ปวดศีรษะ อ่อนพลีย และปวดเมื่อยตามตัว อาจพบตุ่มนูนสีแดงที่ลิ้นคล้ายผลสตรอเบอรี่ ทอนซิลบวมแดงและมีหนอง รอบปากซีด อาจคลำได้ต่อมน้ำเหลืองที่ข้างลำคอโต หลังจากมีไข้ 1-2 วัน ผู้ป่วยจะเริ่มมีผื่นแดงขึ้นบริเวณรอบคอ หน้าอก และกระจายไปตามลำตัวและแขนขาอย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง บางรายจะมีผื่นลักษณะหยาบและสากคล้ายกระดาษทราย อาจมีอาการคันร่วมด้วยได้ ต่อมาผื่นจะมีสีเข้มขึ้นบริเวณรอยพับตามผิวหนัง โดยเฉพาะที่ข้อพับแขน เรียกว่า เส้นพาสเตีย (Pastia’ s line) หลังจากผื่นขึ้น 3-4 วันจะเริ่มจางหายไป และเมื่อผื่นจางลงหลัง 1 สัปดาห์ จะมีอาการลอกเป็นแผ่นของผิวหนังบริเวณรักแร้ ขาหนีบ ปลายนิ้วมือเท้า ส่วนตามลำตัวมักลอกเป็นขุย อาการผิวลอกนี้บางรายอาจจะพบติดต่อกันได้นานเป็นเดือน
ข้อมูลสถานการณ์โรคไข้อีดำอีแดงของโรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ในเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ในปี พ.ศ.2567 ที่ผ่านมา พบทั้งหมด 46 ราย แต่อย่างไรก็ตามข้อมูลที่รายงานนี้มีโอกาสที่จะต่ำกว่าความเป็นจริงได้
การวินิจฉัยโรคจะอาศัยประวัติและอาการแสดงของโรคเป็นหลัก มักไม่มีความจำเป็นในการตรวจพิเศษเพิ่มเติม แต่สามารถตรวจยืนยันด้วยการตรวจบริเวณคอหอยและทอนซิลเรียกว่า “Throat swab for Group A Streptococcal Antigen Screening Test” ซึ่งผลเร็วภายใน 1 ชั่วโมง แต่จะมีเพียงบางโรงพยาบาลเท่านั้นที่สามารถส่งตรวจได้
การรักษา แนะนำให้รักษาตามอาการ ร่วมกับการให้รับประทานยาปฏิชีวนะ เช่น Penicillin V, Amoxicillin เป็นยาหลักเวลานาน 10 วัน แต่หากมีประวัติหรืออาการแพ้ยาดังกล่าวอย่างรุนแรง แนะนำให้ใช้ Clindamycin, Erythromycin หรือ Azithromycin แทน และหากแพ้ไม่รุนแรงให้ใช้ Cephalexin เป็นทางเลือกได้ เป็นต้น แม้อาการจะหายดีขึ้นภายใน 2-3 วัน ความสำคัญของการรักษา คือ การแนะนำให้ผู้ป่วยต้องรับประทานยาปฏิชีวนะให้ครบ 10 วัน (แต่หากได้รับยา Azithromycin แนะนำให้รับประทานให้ครบ 5 วัน) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในภายหลัง เช่น โรคไข้รูมาติก, กรวยไตอักเสบ
นอกจากนี้ผู้ป่วยที่มีอาการควรหยุดเรียนหรือแยกตัวออกจากผู้อื่น ไม่ควรใกล้ชิดผู้อื่นจนกว่าได้รับยาปฏิชีวนะไปแล้วอย่างน้อย 24 ชั่วโมง จึงจะไม่แพร่เชื้อให้ผู้อื่น ทั้งนี้ตามแนวทางการรักษาปัจจุบัน หากมีการระบาดของโรคไข้อีดำอีแดง ยังไม่มีคำแนะนำให้ปิดโรงเรียน แต่แนะนำให้แยกเด็กที่มีอาการสงสัยเข้าได้กับโรคนี้ออกจากคนอื่นเพื่อให้ไปพบแพทย์ และรับการวินิจฉัย รวมทั้งรับการรักษาที่เหมาะสม จะช่วยป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อในโรงเรียน
โรคนี้สามารถป้องกันได้ โดยการหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย แต่หากมีความจำเป็นต้องใกล้ชิด แนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยร่วมกับล้างมือ นอกจากนี้ไม่ควรใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย โดยเฉพาะของใช้ส่วนตัว เช่น แก้วน้ำ ผ้าเช็ดหน้า เป็นต้น”
#MedCMU #คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ #โรงพยาบาลสวนดอก #โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ #แพทย์เชียงใหม่ #แพทย์มช #หมอสวนดอก #แพทย์สวนดอก #MedCMUในมือคุณ #สื่อสารองค์กรMedCMU #โรคอีดำอีแดง
เรียบเรียง : นางสาวนันทพร ระบิน
ภาพ / ข่าว : กลุ่มงานสื่อสารองค์กร
งานประชาสัมพันธ์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
สุขภาพ
บทความ
ข่าวเด่น
แกลลอรี่
×
RoomID:
Room Name:
Description: