ผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Stranded carcass identification of marine mammal species by high resolution melting analysis using barcodes (Bar-HRM) ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Marine Biology (Published : 24 April 2025)
2 พฤษภาคม 2568
คณะสัตวแพทยศาสตร์
หนึ่งในผลงานวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เรื่อง Stranded carcass identification of marine mammal species by high resolution melting analysis using barcodes (Bar-HRM) ได้ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ Marine Biology (Published : 24 April 2025) ซึ่งอยู่ในฐานข้อมูล ISI Quartile 2 (Journal Impact factor 2.1), SJR Quartile 1 และ Scopus Quartile 2
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://doi.org/10.1007/s00227-025-04632-5
การศึกษาเรื่อง Stranded carcass identification of marine mammal species by high resolution melting analysis using barcodes (Bar-HRM) เป็นการศึกษาการใช้ DNA barcode (mitochondrial control region และ cytochrome b) ร่วมกับเทคนิค High resolution melting (Bar-HRM) เพื่อระบุชนิดพันธุ์สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลจำนวน 13 ชนิดจากตัวอย่างที่มาจากประเทศไทย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า Bar-HRM โดยใช้ไพรเมอร์เฉพาะ MMCytb2 และ MMCytb3 สามารถระบุความแตกต่างกันของชนิดพันธุ์สัตว์ได้อย่างชัดเจน โดยมีอัตราความสำเร็จที่ 100.00% สำหรับการทดสอบแบบ blind test Bar-HRM พบว่ามีอัตราความแม่นยำสูงในการจำแนกชนิด โดยมีความแม่นยำที่ 86.67% และ 90.00% สำหรับไพรเมอร์ MMCytb2 และ MMCytb3 ตามลำดับ วิธีนี้ยังสามารถระบุชนิดของตัวอย่างที่ไม่ทราบชนิดพันธุ์ได้ทั้งหมดโดยใช้ดีเอ็นเอในปริมาณขั้นต่ำเพียง 0.01 ng/reaction การใช้ Multiplex HRM ซึ่งรวมไพรเมอร์ MMCytb2 หรือ MMCytb3 เข้ากับยีน SRY สำหรับการตรวจสอบเพศก็มีประสิทธิภาพที่ดีเช่นกัน (100.00%) นอกจากนี้ การระบุชนิดพันธุ์โดยใช้ Bar-HRM ยังมีต้นทุนที่ต่ำกว่าการหาลำดับดีเอ็นเอบาร์โค้ดอีกด้วย วิธีนี้จึงมีศักยภาพสูงในการพัฒนาการระบุชนิดของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลให้มีความแม่นยำ รวดเร็ว และคุ้มค่า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการอนุรักษ์และประเมินสถานะการใกล้สูญพันธุ์ได้ดียิ่งขึ้น