มช. นำวิชาการรับใช้สังคมและนวัตกรรมชุมชน สร้างสรรค์ประโยชน์ต่อท้องถิ่นและสังคมโลก

27 ธันวาคม 2562

ศูนย์สื่อสารองค์กรและนักศึกษาเก่าสัมพันธ์

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จัดตั้งขึ้นตามนโยบายของรัฐและเจตนารมณ์ของประชาชนในภาคเหนือ เมื่อ 55 ปี ที่ผ่านมา

รองศาสตราจารย์ ดร.อาวรณ์ โอภาสพัฒนกิจ รองอธิการบดีฝ่ายบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ยังดำเนินการสร้างองค์ความรู้และนวัตกรรมชุมชน ที่สอดคล้องกับตามประเด็นปัญหาและความต้องการของชุมชนท้องถิ่นล้านนา ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้กำหนดพื้นที่มุ่งเป้า ในชุมชนด้อยโอกาสในพื้นที่สูง กล่าวคือ อ. อมก๋อย อ.แม่แจ่ม อ.พร้าว จังหวัดเชียงใหม่ ชุมชน จ.น่าน ตลอดจน ชุมชน ต. ศรีบัวบาน จังหวัดลำพูน รวมทั้ง ชุมชนในเมืองเชียงใหม่ โดย มีหน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางระดับมหาวิทยาลัย เอื้ออำนวยให้เกิดผ่กระบวนการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม ระหว่างชุมชนเจ้าของปัญหา หน่วยงานภาครัฐ องค์กรภาคธุรกิจเอกชน NGOs และนักวิชาการจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จนทำให้ชุมชนท้องถิ่นเกิดความเข้มแข็ง เป็นตัวอย่างที่ดี ด้าน “เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของประเทศไทย อาเซียนตอนบน และสังคมโลก


ในระหว่างปี 2554 – 2562 มีโครงการวิชาการรับใช้สังคมและนวัตกรรมชุมชน จำนวน 174 โครงการ ซึ่งมีโครงการที่โดดเด่น มีผลกระทบสูง ดังตัวอย่างต่อไปนี้


1) โครงการ “ระบบผ่อดีดี (PODD): ระบบเฝ้าระวังสุขภาพผ่อดีดีชุมชน มิติใหม่ยุค Thailand 4.0”  

หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ นายสัตวแพทย์ ดร. เลิศรัก ศรีกิจการ คณะสัตวแพทยศาสตร์ 

2) โครงการ “ยุทธศาสตร์และความสำเร็จในการต่อสู้ภัยสุขภาพ จากแมงกะพรุนที่ทำให้ตายได้ในประเทศไทย ... เส้นทางต่อสู้ ปี พ.ศ. 2551 ถึง 2562”

หัวหน้าโครงการ ศาสตราจารย์ ดร. พญ. ลักขณา ไทยเครือ คณะแพทยศาสตร์ 

3) โครงการ “การอนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน ... ขยายผลสู่ Chiang Mai City of Craft and Folk Arts และ เชียงใหม่ เมืองมรดกโลก”

หัวหน้าโครงการ รองศาสตราจารย์ ดร. วรลัญจก์ บุณยสุรัตน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยสังคม 

4) โครงการ “ตุ๊กตาวิเศษ เครื่องมือประกอบการสอบถามผู้เกี่ยวข้องในคดีทารุณกรรมทางเพศ”

หัวหน้าโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อลิชา ตรีโรจนานนท์ คณะการสื่อสารมวลชน 

  

  


5) โครงการ“ระบบการทำงานสำหรับกระบวนการการรักษาโรคปากแหว่งเพดานโหว่ภาคเหนือตอนบน … เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ นพ. กฤษณ์ ขวัญเงิน ศูนย์แก้ไขความพิการบริเวณใบหน้าและศีรษะ คณะแพทยศาสตร์

   


6) โครงการ “คน – ป่า – เหมี้ยง ล้านนา”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ชาติชาย โขนงนุช ศูนย์วิจัยพหุวิทยาการเกี่ยวกับเหมี้ยง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    

นอกจากนี้ ยังมีโครงการในพื้นที่สูงที่มุ่งลดพื้นที่การปลูกข้าวโพด ลดปัญหา PM 2.5 เช่น โครงการ การปลูกพืชทางเลือกเพื่อลดพื้นที่ปลูกข้าวโพด โครงการ การจัดการน้ำในชุมชนแห้งแล้งซ้ำซาก โครงการ Young Smart Farmer เป็นต้น


ทั้งนี้ ขอรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่: คุณสุภาพรรณ ไกรฤกษ์ หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โทร 053-943614 FB: หน่วยสนับสนุนวิชาการรับใช้สังคม Website: www.se.cmu.ac.th


แกลลอรี่